2.2 สภาวะตลาดและแนวโน้มการแข่งขันภายในประเทศ
โครงสร้างอุตสาหกรรมในประเทศ จากข้อมูลของสํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (รูปที่ 2) แสดงถึงอัตราการเพิ่มข้ึนของการลงทุนด้านก่อสร้างจากปี 2545 ท่ีจํานวน 262.77 พันล้านบาทเป็น
395.89 พันล้านบาทในปี 2550 การเพิ่มข้ึนของการลงทุนด้านก่อสร้างนี้สะท้อนถึงการสนับสนุนของรัฐบาลในการรองรับธุรกิจก่อสร้างและวิศวกรรมแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัวก็ตาม
ในส่วนของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้น จากข้อมูลของกรมโรงงาน
อุตสาหกรรม แสดงถึงการสนับสนุนการลงทุนด้านการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็น
จํานวนเงินถึง 4 ล้านล้านบาทในปี 2551 (ตารางท่ี 1) ซึ่งในการผลักดันอุตสาหกรรม
เหล่านี้จําเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมเช่นกันใน
แง่ของการออกแบบและให้บริการติดตั้งเครื่องจักร การออกแบบกระบวนการผลิต
เห็นได้ว่าธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมเป็นธุรกิจหลักในการพัฒนา
ภาคก่อสร้างและอุตสาหกรรม โดยผู้ลงทุนในธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมส่วนมากมี
ความต้องการวิศวกรด้านก่อสร้างและเครื่องกลมากถึงร้อยละ 50 (73,794 คน)
ของปริมาณวิศวกรทั้งหมดซึ่งรับผิดชอบในส่วนการออกแบบและติดต้ัง1 (รูปท่ี 3)
การลงทุนด้านเทคโนโลยีของประเทศก็ส่งผลต่อการลงทุนของธุรกิจให้บริการด้าน
วิศวกรรมเช่นกัน นอกเหนือจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน การคิดค้นพัฒนา
เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือระบบการจัดการใหม่ๆ จะกระตุ้นแนวโน้มความต้องการและ
การลงทุนของธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมด้วย เช่น การลงทุนด้านธุรกิจพัฒนา
ซอฟท์แวร์ การพัฒนาความสามารถของผู้ผลิตสินค้าและเทคโนโลยีวิศวกรรม
ภาวะของธุรกิจน้ีโดยท่ัวไปจะเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
กับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างภายในประเทศ ขณะท่ี
ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างจะเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับ
อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic
Products: GDP) หากพิจารณาตามประเภทของการลงทุนจะพบว่าการลงทุนใน
อุตสาหกรรมการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนโดยท่ัวไปจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใน
ทิศทางที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ ในขณะท่ีระบบเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว การลงทุน
ในภาคการก่อสร้างของภาคเอกชนจะมีปริมาณสูง ในขณะที่ภาครัฐจะลดการลงทุน
ในภาคการก่อสร้างลงเพื่อชะลอความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจและควบคุมระดับ
ราคา (เงินเฟ้อ) ไม่ให้อยู่ในระดับท่ีสูงจนเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพของ
ระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ในทางตรงข้ามเมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในช่วง
ชะลอตัวหรืออยู่ในภาวะถดถอย การลงทุนในภาคการก่อสร้างของภาคเอกชนจะมี
ปริมาณลดตํ่าลง ทางภาครัฐจึงต้องเข้ามากระตุ้นระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนใน
ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและ
งานวิศวกรรมไฟฟ้าและเครื่องกลมีการแข่งขันที่สูงข้ึน รวมท้ังการเพิ่มขึ้นของจํานวน
บริษัทรับเหมาก่อสร้างส่งผลให้ในปัจจุบันมีการแข่งขันประมูลงานสูงขึ้นกว่าเดิม
ทําให้ผู้รับเหมาบางรายอาจลดราคามูลค่างานลงเพื่อให้ชนะประมูล การแข่งขัน
ดังกล่าวอาจทําให้กําไรขั้นต้นของบริษัทลดลง แนวทางในการดําเนินธุรกิจเน้นไปท่ี
การเลือกประมูลงานที่บริษัทมีความชํานาญและสามารถควบคุมได้ เพื่อให้ได้กําไร
ขั้นต้นในอัตราท่ีเหมาะสม เนื่องจากโครงการก่อสร้างและงานวิศวกรรมไฟฟ้าและ
เครื่องกลมาจากการประมูลงาน การสร้างความน่าเชื่อถือต่อเจ้าของโครงการต่างๆ ถึง
ศักยภาพและคุณภาพงานของบริษัทน้ันมีความจําเป็นยิ่ง ปัจจัยท่ีผู้ประกอบการ
ธุรกิจต้องคํานึงถึงในการให้บริการได้แก่ ปัจจัยด้านราคา บริการ การส่งมอบ และ
คุณภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
การแข่งขันภายในประเทศของธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมมีการแข่งขันกัน
ในด้านที่สําคัญ ดังนี้
การแข่งขันด้านราคา ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมมีการแข่งขันกัน
อย่างรุนแรงอันเนื่องมาจาก ราคา ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีอํานาจในการต่อรอง
หรือเงื่อนไขพิเศษต่างๆ และผู้รับเหมาข้ามชาติ การเสนอราคาประมูลที่ตํ่าทําให้ ผู้รับเหมารายเล็กหรือรายใหม่ มีโอกาสน้อยมากท่ีจะเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทําให้ คุณภาพโครงการที่ทําลดลงด้วย
การแข่งขันด้านทุนและพันธมิตรทางการค้า ความร่วมมือระหว่าง
พันธมิตรทางการค้าถือว่ามีความสําคัญและมีความจําเป็นอย่างย่ิงต่อการแข่งขันของ
ธุรกิจวิศวกรรมในประเทศ เนื่องจากการถ่ายทอดเทคนิค เทคโนโลยีการก่อสร้างนํา
สมัย และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากบริษัทที่เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมจะเป็น
อุปสรรคให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถชนะโครงการประมูลได้ ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ในธุรกิจก่อสร้าง หน่วยงานรัฐบาลองก็เปิดให้บริการ
วิศวกรรมเช่นกัน ทําให้ธุรกิจวิศวกรรมมีอัตราการแข่งขันที่สูงข้ึน
2.3 สภาวะตลาดและแนวโน้มการแข่งขันในต่างประเทศ
อัตราการเติบโตของงานบริการทางวิศวกรรมทั่วโลกมีการเติบโตขึ้น
ประมาณร้อยละ 2 อีกทั้งการขยายตัวของงานบริการวิศวกรรมไปยังนานาประเทศถือ
เป็นแนวทางการดําเนินธุรกิจบริการวิศวกรรมในปัจจุบัน การลงทุนในงานบริการ
วิศวกรรมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2563 โดยอยู่ใน
ธุรกิจยานยนต์ร้อยละ19 ธุรกิจการบินอากาศร้อยละ 8 และธุรกิจสินค้าเทคโนโลยี
และการสื่อสารถึงร้อยละ 30 จากแนวโน้มนี้ทําให้ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมของ
ประเทศไทยประสบกับภาวการณ์คุกคามจากการลงทุนของบริษัทข้ามชาติในระดับสูง
อีกท้ังนโยบายการเป็ดเสรีทางการค้าในภาคธุรกิจให้คําปรึกษาก็เป็นการเพิ่มภาวะ
เสี่ยงสําหรับผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมไทยอยู่ไม่น้อย ในมุมมองของ บริษัทต่างชาติน้ันปริมาณงานปัจจุบันในประเทศเหล่านั้นลดน้อยลง ขณะเดียวกัน
การกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศ และการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ ส่งผล
ให้บริษัทวิศวกรท่ีปรึกษาและบริษัทรับเหมาก่อสร้างเหล่าน้ีเข้ามาแข่งขันเป็นจํานวน
มาก
การพิจารณาเปิดเสรีทางการค้างานด้านบริการก็มีส่วนผลักดันให้เกิด
การลงทุนในภาคธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมด้วย ปัจจุบันประเทศไทยได้ผ่อนปรน
การให้บริการด้านการก่อสร้างโดยเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน
ร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน และอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาประกอบอาชีพ
ชั่วคราว เฉพาะในระดับบริหาร ผู้จัดการ ผู้เช่ียวชาญเฉพาะยกเว้นวิศวกรโยธา ทําให้ บริษัทก่อสร้างต่างประเทศเข้ามาร่วมถือหุ้นกับบริษัทก่อสร้างไทยและส่งผู้บริหารหรือ
วิศวกรชาวต่างประเทศมาบริหารและควบคุมงานก่อสร้างได้ ทําให้ด้านการรับเหมา
ก่อสร้างและวิศวกรรมมีการแข่งขันสูงขึ้น ทิศทางในธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรม
ปัจจุบันจึงต้องมุ่งเน้นการแข่งขันด้านราคา และบริการต่างๆ ระหว่างดําเนินโครงการ
มากข้ึน เนื่องจากผู้ว่าจ้างโครงการในประเทศไทยเน้นเรื่องค่าใช้จ่ายมากกว่าปัจจัย
อื่นๆ เช่น ความสวยงามในการออกแบบ การประหยัดพลังงาน เป็นต้น
ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านความสามารถในการออกแบบ และมีต้นทุนตํ่า
กรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้กําหนดแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ
ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมรับงานในต่างประเทศเพิ่มข้ึน ขยายการประกอบธุรกิจใน
ต่างประเทศ และผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ท้ังยังมี
การเสนอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาต้ังสถาบันในลักษณะท่ีเป็นองค์กรมหาชน
เพื่อพัฒนาส่งเสริมธุรกิจบริการออกแบบและก่อสร้าง
เมื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมของต่างประเทศ
พบว่า ประเทศต่างๆ กําลังมุ่งพัฒนาความสามารถของวิศวกรท้ังด้านการวิเคราะห์ คํานวณ การวิจัยและพัฒนา รวมวิศวกรรมระดับสูง เช่น ประเทศอินเดีย ซึ่งรัฐบาล
อินเดียเล็งเห็นว่าการพัฒนาความสามารถของวิศวกรและผลักดันให้วิศวกรทํางานในส่วนการสนับสนุนงาน (Back office) น้ันสามารถช่วยให้การดําเนินโดยรวมน้ัน
มีค่าใช้จ่ายท่ีลดลงซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศและมีส่วนช่วยให้ได้เปรียบในการประมูลงาน องค์ประกอบสําคัญของธุรกิจวิศวกรรม
ของอินเดีย คือ การพัฒนาความรู้และการศึกษาวิศวกรรมตามมาตรฐานสากล
การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผ่านการจ่ายค่าตอบแทนให้สูงข้ึน รวมทั้งการบริหาร
โครงการต่างๆ ในระดับภูมิภาคหรือทวีป2
ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมในหลายประเทศมีโอกาสเติบโตและ
ขยายขอบเขตการลงทุน ดังน้ันธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมไทยต้องสามารถพัฒนา
เพื่อรองรับแนวโน้มดังกล่าว ซึ่งการลงทุนของธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมใน
ต่างประเทศสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น
ปัจจัยด้านกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศ สําหรับประเทศไทย
มีกฎหมายสําคัญท่ีเกี่ยวข้องกับด้านแรงงาน ได้แก่ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ซึ่งระบุให้กิจการที่มีคนงานต้ังแต่ 20 คนข้ึนไปต้องมีข้อตกลงเก่ียวกับ
เงื่อนไขการจ่างงาน เช่น วันทํางานและชั่วโมงทํางานค่าจ้าง การส้ินสุดการจ้างงาน
เป็นต้น และ พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีเน้ือหาสาระสําคัญ
อาทิ วันทํางาน ค่าแรงขั้นตำ่ ค่าล่วงเวลา เป็นต้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอาจมีผลต่อ
ต้นทุนการประกอบธุรกิจปัจจัยด้านข้อกําหนดด้านมาตรฐานสากล ผู้ประกอบการควรยื่นขอ
ใบอนุญาตตามมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 และ ISO 14000 ซึ่งเป็นข้อ
กําหนดการประกันคุณภาพในการผลิตและติดต้ัง เช่น ความรับผิดชอบ
ด้านการบริหาร การควบคุมเอกสาร การจัดซื้อ การควบคุมกระบวนการ และการฝึกอบรม เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการให้บริการสําหรับ
การจัดการด้านส่ิงแวดล้อม ท่ีบริษัทต่างประเทศต้องการ
ปัจจัยด้านนโยบายด้านภาษีอากร เนื่องจากธุรกิจให้บริการ
ด้านวิศวกรรมต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยี การดําเนินธุรกิจในต่างประเทศนั้น
ผู้ประกอบการต้องทราบถึงอัตราการภาษีการนําเข่าเทคโนโลยีของประเทศนั้นๆ
สําหรับประเทศไทยรัฐบาลได้ประกาศใช้มาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน
โดยปรับลดภาษีนําเข่าสินค้าทุน เช่น เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องมือวัดและ
ทดสอบและส่วนประกอบจากร้อยละ 5 และ 20 ลงเหลือ ร้อยละ 3 ทั้งนี้เพื่อช่วย
ผู้ประกอบการในประเทศให้สามารถแข่งขันกับสินค้านําเข่าได้ โดยช่วยลดต้นทุน
การผลิตสินค้าและการให้บริการต้าง ๆ ซึ่งรวมถึงต้นทุนในการก่อสร้างและบํารุงรักษา