สวัสดีครับ วันนี้ เรามีบทความดีๆ ที่จะนำมาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านเจอ และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆบ้าง ลองอ่านดูกันนะครับ (18 Dec 2017)
เรียบเรียงโดย นายไสว โลจนะศุภฤกษ์
คณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ใน กรอ.
การจัดการความรู้คืออะไร
หลายท่านเห็นว่ามีคำว่าความรู้อยู่ก็เลยคิดว่าเป็นการจัดการที่ตัวความรู้
เช่น การฝึกอบรมวิชาการ การจัดห้องสมุด
การจับยัดความรู้วิชาการใส่ Web-site รายงานการประชุมต่างๆ
ฯลฯ ซึ่งเป็นการหลงผิดและเป็นสาเหตุที่การจัดการความรู้ไม่ประสบความสำเร็จ
นิยามของ “การจัดการความรู้"
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น
การสร้าง รวบรวม
แลกเปลี่ยนและใช้ความรู้ เป็นต้น
การจัดการความรู้เป็นระบบการบริหารองค์กรหรือเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย
4 ประการ
1.
บรรลุเป้าหมายของงาน พัฒนางาน
2.
บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
การทำงานอย่างผู้รู้จริง
3.
บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
4.
บรรลุเป้าหมายของการบริการ
แก่ผู้รับบริการ และชุมชน
กระบวนการจัดการความรู้
ก่อนที่จะดำเนินการจัดการความรู้ สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการดำลับแรกก็คือเราจะจัดการความรู้เพื่ออะไร ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ก่อนเพื่อเป็นกรอบทิศทางในการจัดการความรู้มิให้การดำเนินการสะเปะสะปะ หลงทางเสียเวลาและเกิดความท้อถอยโดยเฉพาะกับผู้บริหารและเกิดความล้มเหลวในที่สุด วิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้จะต้องสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจและสามารถเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์กรด้วย
กระบวนการจัดการความรู้หรือพัฒนาการของความรู้ที่เกิดขึ้นในองค์กร ประกอบด้วย
7 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1. การค้นหาความรู้ (Knowledge Identification)
เมื่อได้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมาย(Desired state) ที่ต้องการสำหรับการจัดการความรู้แล้วขั้นตอนแรกที่ต้องดำเนินการก็คือการค้นหาความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว เป็นขั้นตอนในการค้นหาว่าองค์กรมีความรู้อะไรบ้างรูปแบบใด อยู่ที่ใคร และความรู้อะไรที่องค์กรจำเป็นต้องมี เพื่อให้องค์กรวางขอบเขตการจัดการความรู้และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
เป็นขั้นตอนในการดึงความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวมไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ สำหรับความรู้ที่จำเป็นต้องมีแต่ยังไม่มีนั้น องค์กรอาจสร้างความรู้จากความรู้เดิมที่มีหรือนำความรู้จากภายนอกองค์กรมาใช้ก็ได้
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขั้นตอนนี้ประสบความสำเร็จคือบรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กรที่เอื้อให้บุคคลากรกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
เป็นขั้นตอนในการจัดทำสารบัญ และจัดแบ่งความรู้ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้รวบรวม
การค้นหา
การนำไปใช้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้โดยง่าย
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
เป็นขึ้นตอนการปรับปรุงและประมวลผลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจและใช้ได้ง่าย
กำจัดความรู้ที่ไม่เกิดประโยชน์ตามเป็าหมายวิสัยทัศน์หรือเป็นขยะความรู้
5. การเข้าถึงความรู้ (Knonledge Access)
ในการเข้าถึงความรู้
องค์กรต้องมีวิธีการในการจัดเก็บและกระจายความรู้เพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ได้ โดยทั่วไปการกระจายความรู้ให้ผู้ใช้มี 2
ลักษณะ คือ
- “Push”
การป้อนความรู้
เป็นการส่งข้อมูล/ความรู้ให้ผู้รับโดยผู้รับไม่ได้ร้องขอ เช่นการส่งหนังสือวเวียนแจ้ง
- “Pull”
การให้โอกาสเลือกใช้ความรู้
โดยผู้รับสามารถเลือกรับหรือใช้แต่เฉพาะ
ข้อมูล/ความรู้ที่ต้องการเท่านั้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
เป็นขั้นตอนในการนำความรู้ที่ได้จัดเก็บมาเผยแพร่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนกัน มี 2 ลักษณะ ดังนี้
6.1 การแบ่งปันความรู้ประเภทความรู้ที่ชัดเจน(
Explicit Knowledge) วิธีที่นิยม เช่น
การจัดทำเป็นเอกสาร วี ดีโอ ซีดี จัดทำฐานความรู้โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยจะทำให้สามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
6.2 การแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในคน(
Tacit Knowledge) สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการและวัฒนธรรมองค์กร
ส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีผสมผสานเพื่อผู้ใช้ข้อมูลสามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวก เช่น
- ระบบทีมข้ามสายงาน
- Innovation
& Quality Circles
(IQCs)
- ชุมชนนักปฏิบัติ(
Community of Practice
: CoP )
- ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System)
- การสับเปลี่ยนงาน (Job
Rotaion) และ
การยืมตัวบุคลากรกรมมาช่วยงาน (Secondment)
- เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Forum)