สวัดดีวันหยุดครับเพื่อน วันนี้ เรามีบทความดีๆมาฝากกัน โดย เป็นบทความที่คัดมาจาก "บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย" มันเป็นบทความที่เก่ามากๆแต่ เราคิดว่ามันน่าจะมีประโยนช์ จึงได้นำมาให้เพื่อนๆ ที่รักในการอ่านได้อ่านกัน (01 March 2018)
ในการประกอบธุรกิจมีทั้งประสบความสำเร็จ และ ล้มเหลว ส่วนสาเหตุของการล้มเหลวมีมากมาย ซึ่งจะได้ประมวลมากล่าวในมี่นี้ เพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการบางส่วนที่ประสบความล้มเหลวในการทำการค้า และธุรกิจก็ยังคงประสบปัญหาอยู่เสมอ การศึกษาถึงสาเหตุแห่งความไม่สำเร็จนับว่ามีประโยชน์และช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ดียิ่งขึ้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจต้องล้มเหลว หรือ ล้มละลายจนต้องปิดตัวเอง พอสรุปสาเหตุได้ดังนี้
ประการที่ 1 ความไม่เอาใจใส่ต่อธุรกิจ
ความไม่เอาใจใส่ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ย่อมก่อให้เกิดผลเสียหายให้แก่ธุรกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในชีวิตธุรกิจประจำวันคือ- ผู้ประกอบธุรกิจไม่เอาใจใส่ต่อกิจการค้าของตนเอง
- ผู้ประกอบธุรกิจมีปัญหาส่วนตัว อาจจะมาจากปัญหาครอบครัวส่วนใหญ่ จะเกิดความขัดแย้งของสามีและภรรยา
- ผู้ประกอบธุรกิจมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ บางคนอาจเกิดอุบัติเหตุ ทำให้สูญเสียความสมประกอบ เป็นเหตุให้ไม่สามารถดูแลกิจการให้ทั่วถึงเหมือนปกติ
ประการที่ 2 ฉ้อฉลหรือคดโกง
ในวงการธุรกิจไม่ว่ายุคใดสมัยใด จะมีผู้ประกอบธุรกิจที่มีนิสัยไม่ค่อยดีหรือคดโกง รวมอยู่ด้วยเสมอ แต่มีจำนวนน้อยมากในกลุ่มบุคคลเหล่านี้ที่ประกอบธุรกิจไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง ตัวอย่างของความไม่ซื่อตรง ได้แก่- การลอกเลียนแบบสินค้าของผู้อื่น
- การทำบัญชีปลอมแปลง ผู้ประสบความล้มเหลวในกรณีนี้ส่วนใหญ่เกิดจากถูกปรับภาษีย้อนหลัง
- จงใจสั่งชื้อสินค้ามากๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีนี้แล้วเกิดขึ้นในวงธุรกิจเสมอ คือ พ่อค้าที่เริ่มรู้ตัวว่าธุรกิจของตนเองจะไปไม่รอดหรืออาจจะไปได้ แต่จงใจจะคดโกงโดยอาศัยเครดิตทางการค้า สั่งสินค้าเข้ามาครั้งละมากๆ แล้วพยายามระบายสินค้าออกไปโดยเร็วในราคาที่อาจจะถูกกว่าต้นทุน แต่ได้เงินสดมา เมื่อถึงกำหนดหรือก่อนถึงกำหนดชำระสินค้า พ่อค้าดังกล่าว จะจงใจขนข้าวขนของหนีไปอยู่ที่อื่น
- ใช้จ่ายซื้อทรัพย์สินที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจ มีพ่อค้าจำนวนไม่น้อยที่ได้เครดิตทางการค้าหรือกู้เงินมาทำการค้าพอได้เงินสดมา จะใช้เงินเหล่านี้ไปซื้อทรัพย์ที่ไม่จำเป็นต่อธุรกิจ เช่น รถยนต์ หรือทรัพย์สินฟุ่มเฟือยอื่นๆ
ประการที่ 3 ขาดประสบการณ์และความสามารถ
มีบุคคลอีกจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า การมีเงินทุนเพียงพอ โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ก็สามารถประกอบธุรกิจให้สำเร็จผลได้ ที่ผ่านมามีธุรกิจมากมายที่ล้มเหลว และต้องปิดตัวเองเพราะขาดประสบการณ์ ขาดความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นๆ ตลอดจนขาดความสามารถในการใช้ประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลในทางสูญเสีย ดังนี้- ขายสินค้าได้น้อย
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง
- มีปัญหาเรื่องการบริหารลูกน้อง
- มีปัญหาเรื่องการบริหารสินค้าคงคลัง
- มีทรัพย์ถาวรมากเกินไป
- เลือกทำเลไม่ถูกต้อง
- แข็งขันสู้ผู้อื่นไม่ได้
ประการที่ 4 อุบัติเหตุ
ในที่นี้ คือ เหตุการณ์หรือภัยอันตรายที่เกิดขึ้นโดยคาดไม่ถึง ทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจ ตัวอย่างของเหตุการณ์เหล่านี้ ได้แก่ อุทกภัย พนักงานคดโกงอย่างไรก็ตาม เมื่อรู้ตัวว่าธุรกิจของท่านมีปัญหา มีวิธีตรวจสอบปัญหาที่แท้จริงง่ายๆ ดังนี้
- ขายมากไป หรือขายน้อยไปหรือไม่
- ซื้อสินค้าผิดไปหรือไม่
- จ้างคนแพงไปหรือไม่
- ใช้จ่ายส่วนตัวมากไปหรือไม่
- เก็บหนี้ไม่ได้ ใช่หรือไม่
- กำไรน้อยไป ใช่หรือไม่
- ควรจัดองค์กรใหม่หรือไม่
เมื่อตรวจพบว่ามีปัญหาที่ตรงไหน วิธีการแก้ไขง่ายๆ มีดังนี้
- หยุดซื้อชั่วคราว
- ดูว่าชื้อสินค้าผิดเพราะอะไร
- หาทางลดต้นทุน ลดคนงาน ลดชั่วโมงการทำงาน
- ลดการสังคม เหล้า บุหรี เที่ยวเตร่
- สร้างประสิทธิภาพในการจัดเก็บใหม่
- ขึ้นราคาขาย หรือ ขายราคาต่ำลง เก็บเงินให้เร็วขึ้น ดูว่าช่วยได้หรือไม่ หรือเพิ่มสินค้าชนิดอื่นให้ขายดีขึ้น
- หาผู้ช่วยในการแก้ไขปัญหา