นานเลยครับที่ไม่ได้มาทักทายเพื่อนๆ เนื่องจาก โครงการที่ได้รับมอบหมาย กำลังเร่งรีบ แต่ก็อกไม่ได้ที่จะต้อง หาเรื่องดีๆ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
โดย :อ.อุดม
ระดับ : นายร้อย
เป็นสมาชิกเมื่อ : 03 พ.ย. 2006 03.19 น.
เข้าสู่ระบบครั้งล่าสุด : 15 ม.ค. 2007 01.26 น.
วันที่อัพเดท :15 ม.ค. 2007 13.15 น.
คะแนนโหวต :23 คะแนน | ผู้เข้าชม :6847 ครั้ง
บทเกริ่นนำ :แนะนำมือใหม่หัดขับ ที่สนใจการบริหาร TQM
3. Create dependence on inspection to achieve quality. Eliminate the need for inspection on a mass basis by building quality into the product in the first place.
จงสร้างคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่แรก ยุติการควบคุมคุณภาพโดยพึ่งการควบคุมคุณภาพด้วยการตรวจสอบผลลัพธ์สุดท้าย
ดร.เด็มมิ่ง มีคำกล่าวที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า
"เราไม่สามารถ สร้างคุณภาพลงไปในสินค้าด้วยการตรวจสอบ"
(QUALITY CAN NOT BE BUILT IN PRODUCT BY INSPECTION"
ดร.เด็มมิ่ง ให้เหตุผลยืนยันความคิดเขาเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ 7 ประการ ว่า
- การตรวจสอบเป็นขั้นตอนที่สานเกินไปแล้ว ทั้งยังไร้ประสิทธิภาพ และมีราคาแพง (ต้องลงทุนมาก) ทั้งยังไม่อาจประกันได้ว่า จะค้นพบความบกพร่องทั้งหมดในผลิตภัณฑ์นั้นๆได้
- การรีเวิร์ค (Rework) หรือทำซ่อมก็ดี การลดเกรดของสินค้า (Down Grading) เช่น ลดจาก Military Standard ซึ่งราคาต่อชิ้นแพงกว่า ไปเป็น Commercial Standard ซึ่งราคาต่อชิ้นถูกกว่าก็ดี จนกระทั่งการสั่งทำลายทิ้ง หรือ Scrap สำหรับงานที่พบว่ามีความบกพร่องจนซ่อมไม่ได้ก็ดี ล้วนไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาด้านคุณภาพที่ถูกต้อง
- การพัฒนาคุณภาพต้องกระทำที่ การควบคุมกระบวนการผลิต หรือ PROCESS CONTROL(ปัจจุบันอาจเป็นเรื่องการออกแบบกระบวนการที่ไม่ผลิตของเสีย ไม่เพียงแต่ควบคุมกระบวนการผลิต) ไม่ใช่การมาตรวจเช็คหาข้อเสียหลังจากที่ผลิตจนเสร็จแล้ว
- การตรวจสอบจะให้ผลสะท้อนถึง สภาวะของคุณภาพผลิตภัณฑ์ ณ เวลาขณะนั้นเท่านั้น ในเวลาที่เปลี่ยนไปคุณภาพอาจเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น การตรวจสอบ100% จึงไม่ใช่หลักประกัน 100% ว่าผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบนั้นจะไม่มีปัญหา เมื่อนำไปใช้งานในโอกาสต่อไป
- ดังนั้น แทนที่จะมุ่งเพิ่มบุคลากรให้กับแผนกตรวจสอบคุณภาพ เราควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนากระบวนการผลิต และการควบคุมกรรมวิธีการผลิตให้ได้มากกว่า
- ในปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐ ได้ซื้อสินค้าตามมาตรฐานการตรวจรับสินค้าขณะส่งมอบ ด้วยการชักตัวอย่าง หรือ Samplingตามมาตรฐานของ MIL-STD 105D นั้นเป็นการบอกว่ารัฐบาล (ซึ่งคือผู้ซื้อ) ได้วางแผนการยอมรับสินค้าที่มีความบกพร่อง ผสมมากับสินค้าในปริมาณที่ยอมรับได้ และพร้อมจ่ายเงินค่าสินค้าที่บกพร่องนั้นด้วย ขณะที่อเมริกายอมรับกันที่ % ของชำรุด ที่ถูกกฎหมาย ในประเทศญี่ปุ่นผู้ผลิตชั้นนำได้ตั้งมาตรฐานคุณภาพงานให้มีของชำรุด หรือ ดีเฟ็กซ์ (Defects)เป็นส่วนต่อล้านส่วน หรือหน่วยวัดเป็น PPM กันแล้ว และในขณะที่แนวความคิดเรื่องสินค้าปลอดของชำรุด หรือ Zero Defectที่กำเนิดในอเมริกา และเป็นเรื่องราวของความเพ้อฝันในสายตาของนักอุตสาหกรรมอเมริกัน ตรงกันข้ามในประเทศญี่ปุ่น นักอุตสาหกรรมชั้นนำกลับมุ่งสู่ Zero Defect และจะพิสูจน์ว่า ฝันนั้นต้องการเป็นจริง ไม่ใช่ความฝันเฟื่องของนักทฤษฎีแต่เป็นความจริงของนักปฏิบัติ
- สเป็คอาจผิดด้วยตัวของมันเอง ฉะนั้น การวัดมาตรฐาน