วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

คู่มือธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรม ตอนที่ 2/1

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เรามาต่อกัน กับกาบริการธุรกิจด้านวิศวกรรม ในส่วนของสภาวะตลาดและแน้วโน้มในการแข่งขัน จะถูกแบ่งเป็น 3 หัวเรื่องใหญ่ๆ 
คือ 1. ความสามารถในการแข่งขัน
      2. สภาวะตลาดและแนวโน้มการแข่งขันภายในประเทศ
      3. สภาวะตลาดและแนวโน้มการแข่งขันภายในต่างประเทศ
ซึ่งในวันนี้เราคง นำเสนอแค่หัวข้อที่หนึ่ง ดังนี้นะครับ

2. สภาวะตลาดและแนวโน้มการแข่งขัน 


2.1 ความสามารถในการแข่งขัน

          ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมแบ่งเป็น ด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านแรงงาน ด้านวัตถุดิบ และด้านเทคโนโลยี 

ด้านแรงงาน 


          ผู้ประกอบการคนไทยและบุคลากรหรือแรงงานไทยส่วนใหญ่มีศักยภาพใน การประกอบธุรกิจประเภทท่ีไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสูง เช่น ธุรกิจบริการทางบัญชี ธุรกิจบริการทางกฎหมาย การค้าปลีกและการค้าส่ง แม้ว่าผู้ให้บริการของไทยได้มี การปรับตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมในการแข่งขันมาตลอดเวลาก็ตาม แต่ก็ยังมี ข้อจํากัดในการแข่งขันกับสาขาของบริษัทวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และก่อสร้างระดับ โลกจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ และออสเตรเลียได้อันเนื่องจากงานที่มีความสลับซับซ้อนได้หากบริษัทไทยต้องการเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดที่เป็น ลูกค้าจากบริษัทข้ามชาติที่มาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ย้อมต้องมีการปรับตัวใน การสร้างบุคลากรให้มีความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาของลูกค้า และต้องสร้าง ความพร้อมในการเสนอบริการตามมาตรฐานสากล หรือตามข้อกําหนดพิเศษท่ีอาจจะ เกิดขึ้นในบางกรณีบริษัทวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และก่อสร่างของไทย ยังคงมี ศักยภาพในการปรับตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมในการแข่งขันกับสาขาของบริษัท ต่างชาติได ในขอบเขตที่ค้อนข้างจํากัด เพราะความไม บริบูรณ์ด้านเงินทุน และยังไม่ได รับความเชื่อถือมากนักจากบริษัทข้ามชาติที่มาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ประกอบ กับผู้บริหารในภาครัฐและรัฐวิสาหกิจท่ีมีความรับผิดชอบงานในโครงการใหญ มักจะ ให้ความเช่ือมั่นแก่บริษัทระดับโลกเหนือบริษัทของคนไทยอย่างมีนัยสําคัญ 


ด้านวัตถุดิบ


          วัตถุดิบที่ใช้ในงานบริการวิศวกรรม เช่น วัตถุดิบก่อสร้าง วัตถุดิบ ในการทํางานของเครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านวิศวกรรม วัตถุดิบที่ใช้ในโครงการ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่มีซื้อขายอยู่ท่ัวไป สามารถ ใช้ทดแทนกันได้และมีผู้จัดจําหน่ายหลายราย ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนจึงพบไม่บ่อย ในการทําธุรกิจ
          อย่างไรก็ตามเนื่องจากโครงการรับเหมาเป็นโครงการใหญ่ซึ่งผู้ผลิตวัตถุดิบ อาจไม่มีการสํารองกําลังการผลิตไว้ล้วงหน้า ดังนั้นในกรณีผู้ประกอบการทําโครงการ รับเหมาเบ็ดเสร็จ ปัญหาในเรื่องการปรับตัวสูงข้ึนของราคาวัสดุอุปกรณ์ภายหลังจาก ท่ีบริษัทได้รับงานโครงการแล้ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและกําไรของ บริษัท อย่างไรก็ตามมีวัสดุบางรายการท่ีบริษัทมีการทําข้อตกลงล่วงหน้ากับ ผู้จําหน่ายวัสดุอุปกรณ์ว่าจะซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ในราคาและระยะเวลาท่ีตกลงกันหาก บริษัทได รับเลือกให้ดําเนินงาน ทั้งน้ีเพื่อให้บริษัทสามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สําหรับการจัดหาอุปกรณ์ในลักษณะพิเศษจะจัดซื้อจากผู้จัดจําหน่ายในประเทศก่อนโดยการชําระเงินค่าวัตถุดิบจะมีทั้งการชําระเป็นเงินสดและข้อตกลงให้เครดิตจากผู้จัดจําหน่าย (Letter of Credit) การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบให้อยู่ใน งบประมาณที่กําหนดไว้สามารถลดผลกระทบกับกําไรหากเกิดภาวะราคาวัตถุดิบ ผันผวน

          สําหรับความเสี่ยงจากการพึ่งพิงอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ใน การดําเนินงานจากต่างประเทศนั้น ผู้ประกอบการส่วนมากต้องพึ่งพิงการสั่งซื้อ อุปกรณ์จากตัวแทนจําหน่ายในประเทศ ซึ่งอาจจะมีราคาสูงกว่าการติดต่อซื้อโดยตรง จากผู้ผลิต บริษัทสามารถลดความเสี่ยงนี้ได โดยซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศโดยตรง มากขึ้น 


ด้านเทคโนโลยี 


          การให้บริการทางด้านวิศวกรรมที่มีประสิทธิภาพจําเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี ที่ทันสมัยและหลากหลาย นอกจากน้ีงานวิศวกรรมมีความจําเพาะเจาะจง เช่น งานด้านวิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า และสารสนเทศ 

          ปัจจุบันการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความสําคัญต่อการแข่งขันในตลาดโลก เป็นอย่างมาก การนําเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design, CAD) ซึ่งมีใช้อย่างแพร หลายเริ่มเป็นสิ่งปกติที่พบเห็นในบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างไรก็ตามในปัจจุบันน้ีผลิตภัณฑ์ต่างๆ มี ความซับซ้อนทางด้านรูปร่างมากขึ้นส่งผลให้การใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมช่วยใน การออกแบบเป็นไปด้วยความยากลําบากและใช้เวลานานมากขึ้นในการสร่าง แบบจําลองสามมิติ (3D Modeling) เพื่อนําไปใช ในการวิเคราะห์และวิจัยต่อไป นอกจากนี้ยังมีอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช ในกันอย่างแพร หลายคือเทคนิควิศวกรรม ย้อนรอย (Reverse Engineering) ซึ่งใช้อุปกรณ์ตรวจวัดทั้งแบบสัมผัส (Contact) และแบบไม่สัมผัส (Non-contact) ในการเก็บค่าพิกัดจากต้นแบบทางกายภาพ (Physical Prototype) ซึ่งได้มาจากการปั้นข้ึนรูปโดยนักออกแบบผลิตภัณฑ์หรือ ได้มาจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่เพื่อนําค่าพิกัดเหล่านั้นย้อนกลับเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบด้วยวิธีวิศวกรรมย้อนรอย (Computer Aided Reverse Engineering, CARE) เพื่อนําไปสู่การแก้ไขปรับปรุงหรือนําไปวิเคราะห์ทาง วิศวกรรมของชิ้นส่วนต่างๆ เช่นการวิเคราะห์ทางพลศาสตร์ของไหล (Computational Fluid Dynamics) หรือการวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต (Finite Element Method) รวมไปถึงการออกแบบแม่พิมพ์เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตต่อไป
           การขยายตัวทางภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศยังไม่รวดเร็วนัก การขยาย ธุรกิจเพื่อรองรับการขยายตัวน้ีก็เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเพิ่มปริมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากร ระดับขั้นพื้นฐานก็สามารถให บริการทันต่อ ความต้องการและสร่างความพึงพอใจต่อลูกค้าได้ดี แต่ในช่วง 3-4 ปีท่ีผ่านมา การขยายตัวทางภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การแข่งขันในแวดวงอุตสาหกรรมรุนแรงข้ึน ดังนั้นการให้บริการจึง จําเป็นต้องพัฒนาให้ทันต่อกลุ่มผู้ใช้บริการเช่น ความแม่นยําความทันสมัย และ ความรวดเร็ว จึงไม่พ้นที่จะต้องปรับลักษณะธุรกิจ จากเดิมที่ใช้เทคนิคด้ังเดิมเป็นส่วน ใหญ่มาเป็นใช้เทคนิคชั้นสูง (Advanced Technology) เพื่อให้บริการกลุ่มลูกค้าท่ี ต้องการเทคนิคช้ันสูงนี้ ซึ่งแม้ว่าการลงทุนในส่วนนี้ทั้งเครื่องมือและบุคลากรจะสูงขึ้น มาก แต่ค้าบริการที่ได้ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน และยังเป็นการได้ส่วนแบ่งการตลาดจาก คู่แข็งที่เป็นชาวต่างประเทศได้อีกด้วย แต่กระนั้นก็ตาม การให้บริการด้วยเทคนิค ดั้งเดิมยังเป็นบริการหลักของผู้ประกอบการส่วนใหญ่อยู่
          งานวิศวกรรมมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การสรรหาเทคโนโลยี มาใช้ในการดําเนินงานเป็นปัจจัยหน่ึงท่ีสร่างแรงจูงใจและความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้า อย่างไรก็ตามสัดส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีน้ันยังน้อย แต่หากจะเป็นการรับเทคโนโลยี จากต่างประเทศเข้ามาหรือมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในองค์กรข้ามชาติ (Multinational Companies) นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และ การพัฒนาอุตสาหกรรม เท่าท่ีผ่านมารัฐบาลมุ่งให้ความช่วยเหลือและปกป้องโดย การต้ังกําแพงภาษี และการให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ แทนการพัฒนาปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในต่างประเทศได้ เมื่อรัฐบาลขาดมาตรการใน การกระตุ้นให้ภาคเอกชนขวนขวายพึ่งตนเองด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงไม่มีการวิจัยและพัฒนา ดังจะเห็นได้ว่าภาคเอกชนของไทยมีรายจ่ายในการวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีในสัดส่วนท่ีน้อย แม้ว่ากําลังคนทางด้านวิทยาศาสตร และเทคโนโลยี ของไทยจะน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ไทยเองก็มีจํานวนนักวิทยาศาสตร และ วิศวกรต่อจํานวนประชากรในสัดส่วนท่ีสูง อย่างไรก็ตามเนื่องจากภาคเอกชนขาด แรงกระตุ้นในการวิจัยและพัฒนา จึงมีการนําบุคลากรด้านวิทยาศาสตร และ เทคโนโลยีท่ีมีอยู่ไปใช้งานผิดประเภท เช่น เป็นพนักงานขายเครื่องมือ เครื่องจักร และ ทํางานด้านบริหาร เป็นต้น ฉะนั้นการทุ่มเททรัพยากรเพื่อผลิตบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรจะไม่บังเกิดผลต่อการวิจัยและพัฒนาเท่าใดนัก เนื่องจากการจ่ายค่าตอบแทนแก่นักวิจัยยังตำ่กว่าพนักงานฝ่ายการตลาด ทําให นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรยินดีทํางานผิดประเภทตลอดมา
           ในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายในการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา โดยจะเพิ่มค่าใช้จ่าย ด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นร้อยละ 0.75 ของผลผลิตรวมในประเทศ และเพิ่ม งบประมาณอุดหนุนการวิจัยของรัฐให้เป็นร้อยละ 2 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปีอย่างไรก็ดี การให้การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยยังค่อนข้าง น้อย ทําให้ไม่ค้อยจะมีผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดข้ึน ผลิตภัณฑ์ใหม่ส่วนใหญ่จึงถูกนําเข้ามาจากต่างประเทศ สําหรับเทคโนโลยีในการก่อสร้างระบบ สายส่งและสายจําหน่ายไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ส่วนการก่อสร้างสถานีไฟฟ้ามี การพัฒนาจากสถานีไฟฟ้าประเภท Conventional มาเป็นประเภท GIS นอกจากนี้ งานด้านบํารุงรักษาระบบไฟฟ้า เช่น อุปกรณ์ป้องกันและรีเลย์ต้องอาศัยเครื่องมือ ทันสมัยท่ีใช้ในการทดสอบและตรวจสอบ ในส่วนของแผนพัฒนาฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญของการประยุกต์ใช้และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อสร้างความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ ลดสัดส่วนการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศและใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยดัดแปลงให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดย มีนโยบายพัฒนาขีดความสามารถด้านวิศวกรรมการผลิตและออกแบบรวมถึง การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและหน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยี สนับสนุนเทคโนโลยีให้เข้าถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเหมาะสม ต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
          ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น เนื่องจากการพัฒนาคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่วนใหญ่เกิดข้ึนในต่างประเทศ การเรียนรู้เทคโนโลยีจึงต้องอาศัยการถ่ายทอด เทคโนโลยีจากบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาร่วมทุนกับบริษัทไทยโดยจัดส่งผู้เช่ียวชาญ ต่างประเทศเข้ามาช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ กับคนไทย ซึ่งจะเป็นข้อได้เปรียบ สําหรับธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมท่ีร่วมทุนกับต่างประเทศหรือมีบริษัทแม่ต่างประเทศให้การสนับสนุน
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
          ลูกค้าในภาคธุรกิจวิศวกรรมประกอบด้วย 2 หน่วยหลักคือ ภาครัฐและภาคเอกชน โดยส่วนมากจะเป็นลูกค้าจากโครงการก่อสร้าง   


ปัจจัยในการเลือกใช้บริการ
          ผู้ท่ีต้องการเร่ิมประกอบธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรม ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ก่อนเร่ิมดําเนินธุรกิจเนื่องจากมีผลต่อการเลือกใช้บริการของลูกค้า ดังน้ี 



จํานวนและความสามารถของผู้เช่ียวชาญหรือวิศวกรในแต่ละสายงาน:


          การบริหารงานวิศวกรรมต้องอาศัยแรงงานที่มีความสามารถสูง แรงงานด้าน วิศวกรรมต้องมีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนและความร่วมมือ กับทางหน่วยงานรัฐ มหาวิทยาลัย บริษัทเอกชนเป็นกลไกสําคัญท่ีจะเพิ่มความสามารถแรงงานและวิศวกร ซึ่งนําไปสู่การรองรับงานที่มีความซับซ้อนขึ้นได ผู้ประกอบการต้องทําการคัดเลือกพนักงานท่ีมีความสามารถและความเชี่ยวชาญ รวมท้ังฝึกฝนอบรมพนักงานท่ีมีอยู่ให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มข้ึน

เทคโนโลยีในการให้บริการ:  


          งานวิศวกรรม เช่น การออกแบบที่ดี การติดตั้งระบบเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ มีผลต่อความสําเร็จของโครงการโดยรวม การส่งมอบและคุณภาพโครงการเป็น สิ่งสําคัญ ดังนั้นการลงทุนในเทคโนโลยีท่ีทันสมัยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ การลงทุนพื้นฐานของงานวิศวกรรมคือการลงทุนด้านเครื่องมือและอุปกรณ์วิศวกรรม ซึ่งประกอบด้วย ซอฟท์แวร์ที่ใช้สําหรับออกแบบและคํานวณทางวิศวกรรม เครื่องมือวัดและตรวจสอบ อุปกรณ์ในการติดต้ังต่างๆ อุปกรณ์ควบคุมและป้องกัน นอกจากน้ี ตัวระบบ Application และอุปกรณ์สนับสนุนต้องมีความทันสมัยเพื่อรองรับ ความต้องการของลูกค้าได้ราคาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิศวกรรมมีราคาสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรพิจารณาเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานให้มากท่ีสุด 

ประสิทธิภาพของระบบการจัดการ:

          การรักษามาตรฐานการให้บริการควบคู่กับการรักษาระดับความสามารถใน การทํากําไรมีความสําคัญ ทําให้สามารถรองรับจํานวนโครงการได้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาระบบการให้บริการตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9000:2001 ทําให้บริษัทสามารถลดขั้นตอนการทํางานท่ีซับซ้อนและควบคุมคุณภาพได้ท้ังกระบวนการ ผู้ประกอบการต้องทําการศึกษาขั้นตอนต่างๆ ในของระบบจัดการและควบคุม คุณภาพต่างๆ รวมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ  

ความสัมพันธ์กับลูกค้าและเครือข่าย


          ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยธุรกิจย่อยในบริษัท รับเหมาก่อสร้าง จึงจําเป็นต้องจัดตั้งแผนกพัฒนาธุรกิจ (Business Development : BD) เช่นกันเพื่อติดตามข่าวสารการเปิดประมูลงานของท้ังภาครัฐและภาคเอก 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น