วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เริ่มใช้งาน AutoCAD Plant 3D

 ในวันนี้ เรามาเริ่มทำการ เตรียมความพร้อมของการที่เราจะเริ่มเขียน Model 3D Piping ในโปรแกรม AutoCAD Plant 3D กันนะครับ

1. เริ่มจาก ให้ทำการคลิกเปิดโปรแกรมขึ้นมา โดยการคลิกที่ไอค่อน AutoCAD Plant 3D บนหน้า Desktop ของคอมพิวเตอร์ 

2. ซึ่งเราจะได้หน้าจะ ตามรูป 


จากรูปจะเห็นว่า เป็นการเปิดโปแกรมขึ้นมาเฉยๆนะครับ ยังไม่มีอะไรทั้งนั้น ซึ่งการเริ่มใช้งานโปแกรม ขั้นแรก มาทำความรู็จักกัน ชุด Panel ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของโปรแกรม คือ
panel : PROJECT MANAGER

ซึ่งการทำงานของโปรแกรม ครั้งแรก เลย คือ การตั้งชื่อโครงการ หรือ ชื่อโมเดล 3 มิติ ที่เรากำลังจะเขียน

หมายเหตุ : โดยหลักการทั่วๆไปของการตั้งชื่อไฟล์ของงานในระบบคอมพิวเตอร์ก็มักจะมีการกำหนดให้มีการตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษและตัวเลข ควรใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากกรณี case sensitivity ที่การใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่อาจจะเป็นไฟล์คนละไฟล์ถึงแม้จะมีชื่อเหมือนกัน และไม่ควรใช้ space bar หรือการเว้นวรรคกับการตั้งชื่อไฟล์ หรือถ้าต้องการแยกส่วนของชื่อให้ใช้เครื่องหมาย ไฮ-เฟ็น (Hyphen) หมายถึง ขีดกลาง "-" หรือใช้  เครื่องหมาย อันเดอร์สกอร์ (underscore) หมายถึง ขีดล่าง "_"

การเขียนโมเดลด้วยโปรแกรม AutoCAD Plant 3D นี้ จะเป็นหลักการเขียนแยกไฟล์งานของแต่ละประเภทของงานออกจากกันแล้วจึงนำไฟล์งานทั้งหมดมารวมกัน เพื่อแสดงเป็น โมเดล 3 มิติ อีกที

การตั้งซื่อโมเดล โดนการคลิกที่เครื่องหมาย drop down ที่ Current Project แล้วเลือกที่ New Project


 โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างการตั้งชื่อโมเดลขึ้นมาตามรูป

 

ทำการตั้งชื่อโมเดลที่เราจะสร้างใน Enter a name for this project และเลื่อกสถามที่เก็นไฟล์งานโมเดล ที่ Specify the directory where program-generated files are stored แล้ว กด Next เพื่อทำการกำหนดค่าต่อไป


ในหน้าต่างนี้ เป็นส่วนสำคัญ เพราะจะเป็นการตั้งค่าหน่วยที่ใช้ในการเขียนโมเดล ซึ่งจะสามารถตั้งค่าได้ในตอนต้นการเขียนโมเดลนี้เท่านั้น โดยกรกติบ้านเราจะใช้หน่วย millimeters ในการบอกระยะและความยาวต่าง และใช้หน่วยนิ้วในการบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ ดังนั้นให้คลิดเลื่อกหน่วยดังรูป แล้วกด next


ในหน้าต่างนี้จะให้เรากำหนด มาตราฐานในการเขียน P&ID โดยเลื่อกที่ PIP แล้วกด Next

หน้าต่างนี้ โปแกรมจะแสดงให้เราเห็นว่า มีการสร้าง directory ขึ้นมามีอะไรบ้าง ก็ให้กด next ต่อไปได้เลย

หน้าต่างนี้โปรแกรมจะให้เราเลื่อกว่าโมเดลที่เรากำลังจะสร้าง จะทำงานเป็นแบบ หลายคน หรือ ทำงานแบบคนเดียว ซึ่งตอนนี้เราก็เลื่อกแบบทำงานคนเดียวไปก่อนแล้วกันนะครับ หลังจากนั้นก็ กด next ต่อครับ


พอถึงหน้าต่างนี้ก็ให้กด Finish ได้เลยครับ 
เมื่อเราได้ทำการตั้งชื่อโมเดลที่เรากำลังจะสร้างแล้ว ที่ Panel: Project Manager ให้เราทำการสร้าง Folder สำหรับแยกเก็นไฟล์งาน แต่ละประเภทของงาน ซึ่งจะประกอบด้วย
1. Folder: layout
2. Folder: equipment
3. Folder: piping
4. Folder: structure
โดยหลักๆแล้วก็จะประกอบด้วย 4 folder นี้ แต่ถ้าใครจะสร้างแยกเก็บให้ละเอียดมากขึ้นก็ไม่ว่ากันครับ ขึ้นอยู่กับการควบคุมและชอบของแต่ละบุคคล ยิ่งสามารถแยกไฟล์งานอกไปให้เล็ก มากเครื่องก็จะทำงานได้ไม่หนักมากครับ
ในการสร้าง Folder ให้ทำการคลิกขวาที่ Plant 3D Drawing แล้วเลื่อก New Folder 

 

แล้วทำการตั้ง Folder ให้ครบตามที่เราจะต้องใช้ หรือถ้าไม่ครบก็ไม่เป็นไร เอาไว้ค่อยสร้างเพิ่ม หลังจากที่เราต้องการอีกทีก้ได้

หลักการเดียวกันกับการสร้าง Folder ข้างต้น เราก็นำเอามาสาร้าง Drawing ที่เราจะใช้เขียน โมเดลต่อไป

วันนี้ พอก่อนนะครับ เอาไว้มาเขียนอีกที่ ในการสร้างโมเดล
ขอบคุณครับ

หมายเหตุซ AutoCAD Plant 3D ต่างจากการเขียน AutoCAD (CAD : Computer Aided Design)ทั้วไปไม่มาก เพียงแต่หลักการทำงานของโปแกรม ต่างกัน และการเก็บข้อมูลของดปแกรมต่างกัน โดย AutoCAD นั้น คือเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่นำมาช่วยในการเขียนแบบและเขียนแบบโดยแบ่งเป็น CAD ในระบบ 2 มิติ และ ในระบบ 3 มิติ 
CAD ในระบบ 2 มิติ เป็นการใช้ชอฟตืแวร์คอมพิวเตอร์มาแทนการเขียนแบบดั้งเดิมที่ใช้กระดาษและอุปกรณ์เขียนแบบ โดยใช้เครื่องมือ "กราฟิก" แบบเรขาคณิตสำหรับสร้างรูปด้าน ภาพตัด และแบบขยาย
CAD ในระบบ 3 มิติ เป็นการสร้างรูปทรางที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ โดยองคืประกอบทางกราฟิกที่ซับซ้อนขึ้นจาก 2 มิติ
ส่วน AutoCAD Plant 3D เป็นการสร้างแบบจำลองระบบ plant ขึ้นด้วยโปแกรมคอมพิวเตอร์ โดบแบบจำลองนี้ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบของ plant ที่มีขนาดที่ใกล้เคียงหรือเหมือนของจริงที่เรากำลังจะสร้าง และองค์ประกอบนี้จะระบุได้ว่า เป็นวัสดุอะไร (not-graphics) ซึ่งเมื่อเขียนโมเดลเสร็จแล้วจึ้ง นำโมเดลดังกล่าวไปทำ แบบรูปด้าน ถาพตัด และ แบบขยายต่อไป และสามารถทำปริมาณงานระบบท่อ เพื่อนำไปใช้ในการคิดราคางานต่อได้อีกที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น