การใช้งานปั้นจั่นนั้นเราจะสามารถพบกับสัญลักษณ์ ตัวเลขพิกัดยกที่ผู้ผลิตกำหนด ของปั้นจั่นติดตั้งที่ตำแหน่งสำคัญ เช่น คานรับน้ำหนัก ตัวรอก และ ตะขอ ซึ่งส่งผลต่อการใช้งาน ผู้ใช้ปั้นจั่นที่ไม่ทราบข้อมูลตัวเลขเหล่านี้นั้น อาจทำให้เกิดอันตรายในการใช้งานได้ ดังนั้น เราจะมาทำความรู้จักและเข้าใจในส่วนของตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกของปั้นจั่น และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น
๑) ตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกที่ติดไว้ที่ตัวตานรับน้ำหนัก
๑.๑) กรณีที่มีตัวเลข 5/3 หมายความว่า ในคานรับน้ำหนักของปั้นจั่น ๑ ชุด จะมีรอก ๒ ตัว นั่นก็คือ รอกยกพิกัดน้ำหนักยก ๓ ตัน และ รอกยกพิกัดน้ำหนักยก ๕ ตัน คานสามารถรับน้ำหนักได้ไม่เกิน ๕ ตัน๑.๒) กรณีที่มีตัวเลข 10 + 10 หมายความว่า ในคานรับน้ำหนักของปั้นจั่น ๑ ชุด จะมีรอก ๒ ตัว นั่นก็ คิแ รอกยกพิกัดน้ำหนักยก ๑๐ ตัน และ รอกยกพิกัดน้ำหนักยก ๑๐ ตัน คานสามารถรับน้ำหนักยกได้ไม่เกิน ๒๐ ตัน
๒) ตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกติดไว้ที่ตัวรอกและตะขอ
๒.๑) ตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกติดไว้ที่ตัวรอก
หมายความว่า รอกตัวนี้มีพิกัดน้ำหนักยก ๑ ตัน๒.๒) ตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกติดไว้ที่ตัวตะขอ
พิกัดน้ำหนักยก คือ น้ำหนักสูงสุดที่สามารถยกได้ จะต้องมีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกไว้ที่ ปั้นจั่นและตะขอรวมถึงตัวรอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น