วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2566

การอ่านตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกที่ผู้ผลิตกำหนด

     การใช้งานปั้นจั่นนั้นเราจะสามารถพบกับสัญลักษณ์ ตัวเลขพิกัดยกที่ผู้ผลิตกำหนด ของปั้นจั่นติดตั้งที่ตำแหน่งสำคัญ เช่น คานรับน้ำหนัก ตัวรอก และ ตะขอ ซึ่งส่งผลต่อการใช้งาน ผู้ใช้ปั้นจั่นที่ไม่ทราบข้อมูลตัวเลขเหล่านี้นั้น อาจทำให้เกิดอันตรายในการใช้งานได้ ดังนั้น เราจะมาทำความรู้จักและเข้าใจในส่วนของตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกของปั้นจั่น และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น

๑) ตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกที่ติดไว้ที่ตัวตานรับน้ำหนัก

๑.๑) กรณีที่มีตัวเลข 5/3 หมายความว่า ในคานรับน้ำหนักของปั้นจั่น ๑ ชุด จะมีรอก ๒ ตัว นั่นก็คือ รอกยกพิกัดน้ำหนักยก ๓ ตัน และ รอกยกพิกัดน้ำหนักยก ๕ ตัน คานสามารถรับน้ำหนักได้ไม่เกิน ๕ ตัน



๑.๒) กรณีที่มีตัวเลข 10 + 10 หมายความว่า ในคานรับน้ำหนักของปั้นจั่น ๑ ชุด จะมีรอก ๒ ตัว นั่นก็ คิแ รอกยกพิกัดน้ำหนักยก ๑๐ ตัน และ รอกยกพิกัดน้ำหนักยก ๑๐ ตัน คานสามารถรับน้ำหนักยกได้ไม่เกิน ๒๐ ตัน

๒) ตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกติดไว้ที่ตัวรอกและตะขอ

๒.๑) ตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกติดไว้ที่ตัวรอก
    หมายความว่า รอกตัวนี้มีพิกัดน้ำหนักยก ๑ ตัน
๒.๒) ตัวเลขพิกัดน้ำหนักยกติดไว้ที่ตัวตะขอ

๓) พิกัดน้ำหนักยก
    พิกัดน้ำหนักยก คือ น้ำหนักสูงสุดที่สามารถยกได้ จะต้องมีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกไว้ที่ ปั้นจั่นและตะขอรวมถึงตัวรอก














วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2566

กฏหมายความปลอกภัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานกับปั้นจั่น

 สวัสดีครับเพื่อน ๆ วิศวกร และผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสายงานปั้นจั่น วันนี้ จะมาแนะนำ กฏหมายที่จำเป็น ในการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น โดย พอจะสรุปได้ ประมาณ ๘ รายการ

๑) กฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔

๒) ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือ ในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั้น พ.ศ. ๒๕๕๓

๓) ประกาศกรมสวัสดการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธี การใช้เชือกลวดสลิง และ รอก พ.ศ. ๒๕๕๓

๔) ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. ๒๕๕๔

๕) ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบการทดสอบปั้นจั่น พ.ศ. ๒๕๖๕

๖) ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. ๒๕๕๔

๗) กฏกระทรวง การขึ้นทะเบียนและอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๖๔

๘) ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคำขอและรับคำขอใบสำคัญหรือใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียน แบบคำขอและรับคำขอใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต หรือการต่ออายุใบอนุญาตของนิติบุคคล ใบสำคัญ ใบแทนใบสำคัญ ใบอนุญาต และใบแทนใบอนุญาต

ซึ่งกฏหมายทั้ง ๘ รายการนี้ อยากให้เพื่อน ๆ ทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ไปศึกษา หามาอ่านเพื่อ ให้ทราบแนวทางการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย และถูกกฏหมาย นะครับ


ขอบคุณนะครับที่เข้ามาอ่าน

สามารถเข้าหาอ่านได้ที่เว็บไซต์ กรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน ตามลิ้งค์ ด้านล่างนะครับ

https://www.labour.go.th/index.php/hm9

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

SketchUp BIM Tool By ช่างบัว

    สวัสดีช่วงเช้าวันหยุดครับเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคน วันนนี้ก็เป็นวันหยุดที่ได้หยุดอยู่บ้าน ก็เลยตั้งใจจะมาเขียนอะไร ๆ บ้าง เพราะหลัง ๆ มานี้จะไม่ค่อยได้จับคอมเขียนโปรแกรม AutoCAD Plant 3D แล้วนะครับ เพราะว่า เครื่องที่ลงโปรแกรมนั้น License ของ AutoDesk หมดอายุ แหละ แล้วผมก็ไม่ได้มีรายได้อะไร จากการเขียนแบบ เพียงแต่หัดเขียนเอาความรู้ใส่ตัวเองไว้เฉย ๆ และค่า License ของ AutoDesk ต่อปี ก็มีราคาแพง ก็เลยตัดสินใจหาทางเลือกใหม่ ที่จะเอามาใช้แทน

    ปัจจุบันได้พบกับ อาจารย์ป้อม แห่งบ้าน SketchUp เลยทดลองเอามาใช้ ก็รู้สึกว่า มันเหมาะกับที่ตัวเองทำงานอยู่ โดยปัจจุบัน ผมได้เข้าไปมีส่วนร่วมในส่วนงานคิดราคางาน ดังนั้น งานส่วนใหญ่ที่ทำ จึงเป็นการขึ้น Model ตาม Concept หรือแบบที่ลูกค้าให้มาเพื่อจัดทำ BQO และเพื่อให้ทีมงานในทีมคิดราคาเข้าใจไปในทิศทางเดียวกับ ประกอบกับราคาค่า License นั้นถูกมาก เพียงปีละ หมี่นต้นๆ (สถานการณ์ที่ต้องประหยัดเราก็ต้องลดค่าใช้จ่ายลงครับ 55555) และยังสามารถใช้ประกอบเอกสาร ส่งเสนอราคา ให้เจ้าของงานเข้าใจในพื้นฐานการคิดราคาและปริมาณงานได้ จึงได้หันมาเอาจริงเอาจังกับการศึกษาเรียนรู้กับโปรแกรม SketchUp มาขึ้น

ซึ่งที่ผ่านมาระยะเวลาในการใช้งานมาก็ประมาณ 5-6 เดือน ก็คิดว่าสามารถใช้ในงานสร้าง Concept ในการคิดราคา ที่มีประสิทธิภาพได้เลยครับ

ผลงานที่ได้จัดทำแล้วหลาย ๆ โครงการ


SketchUp ขึ้น Model แล้วทำ BQO เพื่อคิดราคา
โครงการ PTTEP CORE RESEARCH CENTER


SketchUp ขึ้น Model เพื่อวางแผนงานทำงาน ของ Plant น้ำเสีย
โครงการ NNC NEW WASTE WATER PLANT


SketchUp ขึ้น Model เพื่อทำความเข้าใจ scope of work และ ความยากง่ายของงาน
โครงการ IRPC FHI

ซึ่งก็หวังว่าต่อไป SketchUp จะสามารถพัฒนาต่อยอดไปเทียบเคียงกับโปรแกรม BIM เจ้าอื่น ๆ 

(SketchUp-Plant 3D)

ช่างบัว

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การสร้างแบบจำลองงานโครงสร้าง ตอนที่ 1

 วันนี้เรา มาดูเรื่องการสร้างงานโมเดล งานโครงสร้างในโปรแกรม AutoCAD Plant 3D กันนะครับ ซึ่งในส่วนบนของ โปรแกรมจะมี Ribbon ชุดคำสั่งในการใช้งาน Structure ตามรูป


เดียวเราจะมาเรียนรู้กันครับ ซึ่งวันนี้จะพาเพื่อนๆเขียน Pipe Rack กันนะครับ โดยองค์ประกอบของการเขียนงานโครงสร้างใน AutoCAD Plant 3D จะมี 
1. Member ที่รวม เหล็ก ที่เราสามารถเลื่อกใช้งานได้ ในการเขียนโครงสร้าง ซึ่งจะมีมาตราฐาน
JIS / AISC / CISC และ DIN มาให้เลื่อกใช้งาน แต่บางท่านอาจไม่มี JIS ก็สามารถ Downloads ไปติดตั้งได้นะครับ ตาม link
link Downloads JIS Member : JIS Member
หมายเหตุ: การติดตั้ง JIS Member 
เมื่อเราเปิดเข้าไปดูใน Folder ที่เรา Load มาจะเห็น File ซื่อ Structural Catalog.acat ให้ทำการ Copy File ดังกล่าว ตามรูป ไปวางแทนที่ของเดิมใน

C:\AutoCAD Plant 3D Content\CPak Common แล้วเลื่อก Replace เท่านี้เราก็สามารถใช้งาน JIS Member ในโปรแกรม ได้แล้ว

ขั้นแรกในการเขียนงานโครงสร้างใน โปรแกรม AutoCAD Plant 3D เราจะมาเริ่มที่การเขียน เส้น Grid กันก่อนนะครับ
แต่ก่อนอื่น เราต้องสร้าง File ที่จะใช้ในการเขียนโมเดลก่อน เพราะครั้งที่แล้ว เราพาเพื่อนๆสร้างแค่ Folder ใน Panel Project Manager
- เริ่มที่ Panel Project Manager ให้คลิกขวาที่ STRUCTURE แล้วเลื่อก ที่ New Drawing


โปรแกรม จะขึ้น หน้าต่าง New DWG มาให้ ให้ทำการตั้งซื่อ Drawing ที่เรากำลังจะเขียน ในช่อง File name แล้วกด OK ตามรูป


ก็จะได้ File สำหรับใช้ในการเขียนงาน ซึ่งการสร้าง Drawing ในการเขียนนี้ เป็นหลักการพื้นฐานที่เวลาที่ จะสร้างโมเดล ในโปรแกรม เราก็ใช้หลักการนี้

- หลังจากที่ได้ Drawing มาแล้ว ต่อไป จะมาเริ่ม สร้างโมเดลโครงสร้าง ด้วยการ สร้างเส้น Grid ของชุดโครงสร้าง โดยใน Penal Ribbon Structure จะมีชุดคำสั่ง Grid 
ให้ทำการคลิกที่ชุดคำสั่ง Grid ดังรูป


แล้วโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างสำหรับให้เรา ลงรายละเอียดของเส้น grid ตามรูป


1. ให้ตั้งชื่อในช่อง Grid name
2. ใส่ค่าระยะของ แกน x และ y และ z (ความกว้าง ความยาว และความสูง) โดยการลงค่าในช่อง Axis value, Row value และ Platform value ตามลำดับ ซึ่งค่าที่ใช้ลงจะเป็นการนับแบบต่อเนื่อง เช่น ในช่อง Axis value ลงค่าเป็น 0,2000,8000,10000 คือ เส้น Grid เส้นแรก ของเราจะเริ่มที่ เส้น "0" แล้วนับระยะห่างออกไป อีก 2000 mm ก็จะได้เส้น Grid เส้นที่ 2 และ นับระยะ จากเส้นที่ 1  ไปอีก 8000 mm และ 10000 mm ก็จะมี อีก 3 และ 4 ตามลำดับ ตามรูป ซึ่งการกำหนด เส้น Grid จะไม่ได้กำหนดค่าเป็นระยะห่างของแต่ละเส้น Grid
(Axis value: 0,2000,8000,10000 / Row value : 0,1600 and Platform value : 0,5000,6000)
3. ในส่วนด้านขวา Axis name (local X) / Row name (local Y) / platform (local Z) หลังจากที่กำหนดค่า Grid เสร็จ ให้กดเครื่องหมายลูกศร

ด้านข้าง เพื่อให้โปรแกรม กำหนดชื่อ grid โดยโปรแกรมจะกำหนด แกน x เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ A,B,C,D ตามลำดับ และ แกน Y จำกำหนดเป็นตัวเลข 1,2 และแกน Z ก็จะบอกเป็นระดับความสูงของโครงสร้างที่จะเขียน
เมื่อกำหนดค่าทุกอย่างครบแล้ว ก็ กด OK เพื่อให้โปรแกรม สร้างเส้น Grid ตามรูป



- เรามาเริ่มสร้างชุดโครงสร้างกันต่อเลยครับ ให้เราคลิกที่ ribbon :structure / member เพื่อใช้งาน
แล้วพิมพ์ "s" ที่ช่อง command line เพื่อเรียกหน้าต่าง member setting ขึ้นมาตามรูป



ให้เราเลื่อก ขนาดเหล้กที่เราจะใช้งาน และกำหนดจุด แกน X,Y ไว้ตรงกลาง ตามรูปด้านข้าง แล้ว กด OK
แล้วให้ทำการคลิกที่จุดของ grid ที่เราจะสร้าง เสาของโครงสร้าง โดยจะคลิกจากจุดด้านบน ลงมาด้านล่าง หรือ จากด้านล่างขึ้นด้านบน ก็ตามที่ ถนัด ไม่มีอะไรตายตัว ตามรูป โดยทำให้ครบทุกเสา




เมื่อได้ครบทุกเสาแล้ว ก็ทำการสร้างคานต่อไป โดยทำการเปลี่ยนเหล้ก เป็น H-Beam 150x75 และเลื่อกจุด X,Y ให้อยู่ด้านบน ตามรูป


แล้วนำไปเขียนจนครบทุกคาน ตามรูป

แค่นี้เราก็ได้ Pipe Rack ตามที่เรา ต้องการ

เนื่องจากการสร้างโครงสร้างในโปรแกรม AutoCAD Plant 3D เป็นเพียงการจำลองโครงสร้างขึ้นมาเพื่อให้เหมือนกับหน้างานจริงเพื่อ ที่เราจะสามารถ เขียน pipe ได้เท่านั้น ไม่สามารถ ทำแบบ shop drawing ของงาน structure ได้

ขอบคุณนะครับ ที่ติดตาม เดียว วันหน้า เรามาต่อที่ชุดคำสั่ง การสร้างโครงสร้างต่อนะครับ
ขอบคุณครับ

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เริ่มใช้งาน AutoCAD Plant 3D

 ในวันนี้ เรามาเริ่มทำการ เตรียมความพร้อมของการที่เราจะเริ่มเขียน Model 3D Piping ในโปรแกรม AutoCAD Plant 3D กันนะครับ

1. เริ่มจาก ให้ทำการคลิกเปิดโปรแกรมขึ้นมา โดยการคลิกที่ไอค่อน AutoCAD Plant 3D บนหน้า Desktop ของคอมพิวเตอร์ 

2. ซึ่งเราจะได้หน้าจะ ตามรูป 


จากรูปจะเห็นว่า เป็นการเปิดโปแกรมขึ้นมาเฉยๆนะครับ ยังไม่มีอะไรทั้งนั้น ซึ่งการเริ่มใช้งานโปแกรม ขั้นแรก มาทำความรู็จักกัน ชุด Panel ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของโปรแกรม คือ
panel : PROJECT MANAGER

ซึ่งการทำงานของโปรแกรม ครั้งแรก เลย คือ การตั้งชื่อโครงการ หรือ ชื่อโมเดล 3 มิติ ที่เรากำลังจะเขียน

หมายเหตุ : โดยหลักการทั่วๆไปของการตั้งชื่อไฟล์ของงานในระบบคอมพิวเตอร์ก็มักจะมีการกำหนดให้มีการตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษและตัวเลข ควรใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากกรณี case sensitivity ที่การใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่อาจจะเป็นไฟล์คนละไฟล์ถึงแม้จะมีชื่อเหมือนกัน และไม่ควรใช้ space bar หรือการเว้นวรรคกับการตั้งชื่อไฟล์ หรือถ้าต้องการแยกส่วนของชื่อให้ใช้เครื่องหมาย ไฮ-เฟ็น (Hyphen) หมายถึง ขีดกลาง "-" หรือใช้  เครื่องหมาย อันเดอร์สกอร์ (underscore) หมายถึง ขีดล่าง "_"

การเขียนโมเดลด้วยโปรแกรม AutoCAD Plant 3D นี้ จะเป็นหลักการเขียนแยกไฟล์งานของแต่ละประเภทของงานออกจากกันแล้วจึงนำไฟล์งานทั้งหมดมารวมกัน เพื่อแสดงเป็น โมเดล 3 มิติ อีกที

การตั้งซื่อโมเดล โดนการคลิกที่เครื่องหมาย drop down ที่ Current Project แล้วเลือกที่ New Project


 โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างการตั้งชื่อโมเดลขึ้นมาตามรูป

 

ทำการตั้งชื่อโมเดลที่เราจะสร้างใน Enter a name for this project และเลื่อกสถามที่เก็นไฟล์งานโมเดล ที่ Specify the directory where program-generated files are stored แล้ว กด Next เพื่อทำการกำหนดค่าต่อไป


ในหน้าต่างนี้ เป็นส่วนสำคัญ เพราะจะเป็นการตั้งค่าหน่วยที่ใช้ในการเขียนโมเดล ซึ่งจะสามารถตั้งค่าได้ในตอนต้นการเขียนโมเดลนี้เท่านั้น โดยกรกติบ้านเราจะใช้หน่วย millimeters ในการบอกระยะและความยาวต่าง และใช้หน่วยนิ้วในการบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ ดังนั้นให้คลิดเลื่อกหน่วยดังรูป แล้วกด next


ในหน้าต่างนี้จะให้เรากำหนด มาตราฐานในการเขียน P&ID โดยเลื่อกที่ PIP แล้วกด Next

หน้าต่างนี้ โปแกรมจะแสดงให้เราเห็นว่า มีการสร้าง directory ขึ้นมามีอะไรบ้าง ก็ให้กด next ต่อไปได้เลย

หน้าต่างนี้โปรแกรมจะให้เราเลื่อกว่าโมเดลที่เรากำลังจะสร้าง จะทำงานเป็นแบบ หลายคน หรือ ทำงานแบบคนเดียว ซึ่งตอนนี้เราก็เลื่อกแบบทำงานคนเดียวไปก่อนแล้วกันนะครับ หลังจากนั้นก็ กด next ต่อครับ


พอถึงหน้าต่างนี้ก็ให้กด Finish ได้เลยครับ 
เมื่อเราได้ทำการตั้งชื่อโมเดลที่เรากำลังจะสร้างแล้ว ที่ Panel: Project Manager ให้เราทำการสร้าง Folder สำหรับแยกเก็นไฟล์งาน แต่ละประเภทของงาน ซึ่งจะประกอบด้วย
1. Folder: layout
2. Folder: equipment
3. Folder: piping
4. Folder: structure
โดยหลักๆแล้วก็จะประกอบด้วย 4 folder นี้ แต่ถ้าใครจะสร้างแยกเก็บให้ละเอียดมากขึ้นก็ไม่ว่ากันครับ ขึ้นอยู่กับการควบคุมและชอบของแต่ละบุคคล ยิ่งสามารถแยกไฟล์งานอกไปให้เล็ก มากเครื่องก็จะทำงานได้ไม่หนักมากครับ
ในการสร้าง Folder ให้ทำการคลิกขวาที่ Plant 3D Drawing แล้วเลื่อก New Folder 

 

แล้วทำการตั้ง Folder ให้ครบตามที่เราจะต้องใช้ หรือถ้าไม่ครบก็ไม่เป็นไร เอาไว้ค่อยสร้างเพิ่ม หลังจากที่เราต้องการอีกทีก้ได้

หลักการเดียวกันกับการสร้าง Folder ข้างต้น เราก็นำเอามาสาร้าง Drawing ที่เราจะใช้เขียน โมเดลต่อไป

วันนี้ พอก่อนนะครับ เอาไว้มาเขียนอีกที่ ในการสร้างโมเดล
ขอบคุณครับ

หมายเหตุซ AutoCAD Plant 3D ต่างจากการเขียน AutoCAD (CAD : Computer Aided Design)ทั้วไปไม่มาก เพียงแต่หลักการทำงานของโปแกรม ต่างกัน และการเก็บข้อมูลของดปแกรมต่างกัน โดย AutoCAD นั้น คือเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่นำมาช่วยในการเขียนแบบและเขียนแบบโดยแบ่งเป็น CAD ในระบบ 2 มิติ และ ในระบบ 3 มิติ 
CAD ในระบบ 2 มิติ เป็นการใช้ชอฟตืแวร์คอมพิวเตอร์มาแทนการเขียนแบบดั้งเดิมที่ใช้กระดาษและอุปกรณ์เขียนแบบ โดยใช้เครื่องมือ "กราฟิก" แบบเรขาคณิตสำหรับสร้างรูปด้าน ภาพตัด และแบบขยาย
CAD ในระบบ 3 มิติ เป็นการสร้างรูปทรางที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ โดยองคืประกอบทางกราฟิกที่ซับซ้อนขึ้นจาก 2 มิติ
ส่วน AutoCAD Plant 3D เป็นการสร้างแบบจำลองระบบ plant ขึ้นด้วยโปแกรมคอมพิวเตอร์ โดบแบบจำลองนี้ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบของ plant ที่มีขนาดที่ใกล้เคียงหรือเหมือนของจริงที่เรากำลังจะสร้าง และองค์ประกอบนี้จะระบุได้ว่า เป็นวัสดุอะไร (not-graphics) ซึ่งเมื่อเขียนโมเดลเสร็จแล้วจึ้ง นำโมเดลดังกล่าวไปทำ แบบรูปด้าน ถาพตัด และ แบบขยายต่อไป และสามารถทำปริมาณงานระบบท่อ เพื่อนำไปใช้ในการคิดราคางานต่อได้อีกที

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การตั้งค่า AutoCAD Plant 3D ก่อนเริ่มงาน

    ปรกติแล้วก่อนเริ่มการใช้งานโปรแกรม AutoCAD Plant 3D ในครั้งแรก เลย ผู้ใช้งานอาจจะต้องทำการปรับแต่งโปรแกรม ให้เหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งจริงๆแล้ว ผู้เขียนทำการปรับแต่งโปรแกรม แค่ไม่กี่อย่าง ที่เหมาะสมกับผู้เขียนเอง คือ

1. STARTMODE ในช่อง command line แล้ว ปรับเป็น "0"

2. SELECTIONPREVIEW และ SELECTIONEFFECT ในช่อง command line เช่นกัน แล้วกำหนดค่าให้เป็น "0"

3. ในส่วนของ หน้าต่าง Option เราจะทำการปรับแต่งที่หน้า 

การเรียกหน้าต่าง Option ขึ้นมาเพื่อปรับแต่ง ให้พิมพ์ "OP" ที่ช่อง command line แล้ว กด Enter

        - Display tab


ตามรูปนะครับ ให้คลิกทำเครื่องหมายถูกหน้า Display File Tabs และ Display Layout and Model tabs
Display File Tabs เพื่อแสดงรายซื่อไฟล์แนบที่เปิดใช้งานอยู่ใน อิดิทบอกซ์ Fade control : Xref display

        - Open and save tab

ในหน้าต่างนี้ เพื่อให้เราสามารถนำไฟล์งานที่เราเขียนไปเปิดในเครื่องอื่นๆ ในกรณีที่จำเป็น และ หรือเพื่อส่งต่องานไ้ จึงต้องทำการปรับตั้ง เพื่อให้โปรแกรม บึนทึกงานให้เป็น version ที่ตำกว่าที่เราใช้งาน ซึ่งบ้านเราส่วนใหญ่ก็จะยังใช้ เป็น version 2000 อยู่ อะไรประมาณนี้ครับ

        - System tab


ให้ทำการคลิกเปิดใช้งาน โหมด Hardware Acceleration ในหมวด Graphic performance ตามรูป

        - User preferences

ในส่วนนี้ จะเป็นส่วนของการปรับค่า Insertion scale ให้เป็น หน่วยตามที่บ้านเราใช้ คือ หน่วย millimeters ตามรูปครับ



4. และอีกหน้าต่างที่เราจะเข้าไปปรับแต่ง คือ Drafting Settings

การเรียกหน้าต่าง Drafting Settings ขึ้นมาเพื่อปรับแต่ง ให้พิมพ์ "OS" ที่ช่อง command line แล้ว กด Enter

        - Object Snap

ให้คลิกทำเครื่องหมายตามรูปด้านล่าง


Object Snap ออฟเจกท์สแน๊ป หรือ Osnap เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถกำหนดตำแหน่งบนพื้นที่เขียนแบบได้ง่ายและถูกต้องมากขึ้น โดนโปรแกรมจะแสดงตำแหน่งต่างๆของเส้นที่เราได้กำหนดไว้ เช่น จุดปลายเส้น (End point) จุดกลึ่งกลางเส้น (Mid point) และ จุดศูนย์กลางวงกลม (center) เป็นต้น

        - Selection

ให้ทำการปรับเลื่อนขนาดตำแหน่งของ tab Pickbox size ไปอยู่ในตำแหน่งตรงกลาง เพื่อให้ง่ายในการคลิดเลือก เส้นในแบบ ตามรูป


        - Dynamic Input

ให้ทำการคลิกเครื่องหมายถูกที่หน้า ช่อง Enable Pointer Input และ Enable Dimension Input where possible ตามรูป

Enable Pointer ใช้สำหรับปิด/เปิดโหมดแสดงข้อความหรือคำแนะนำผ่าน dynamic input

 Enable Dimension Input where possible ใช้สำหรับปิด/เปิดการปรากฎของเส้นบอกขนาดและเส้นบอกมุมของ dynamic input



ซึ่งทั้ง 4 หัวข้อ ก็จะสามารถช่วยในการทำงานสำหรับบางคนที่เครื่องที่ใช้ในการทำงาน ไม่แรงมากพอ ก็จะสามารถช่วยได้


วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การตั้งค่า setvar ใน Auto CAD Plan 3D

จริงๆ บทความนี้ มีคนเขียนไว้ก่อนนานแล้ว แต่ก็ยังอยากเอามา แชร์ ให้เพื่อนๆ ได้รับรู้ อีกช่องทางหนึ่ง เพื่อให้เพื่อน ได้ใช้งานกัน
การที่จะไม่ให้มีข้อความเตือนปรากฏขึ้นมาเมื่อเราทำการ Xref ไฟล์เข้ามา เราจะต้องไปปรับค่าตัวแปรระบบ ซึ่ง Auto CAD จะใช้ชื่อตัวแปรระบบที่ควบคุมการแจ้งเตือนนี้ ว่า LAYEREVAL โดย ถูกตั้งค่าเป็น 1 หรือ 2
จาก command line: พิมพ์คำสั่ง SETVAR แล้ว Enter
แล้วใส่ชื่อตัวแปรระบบ โดยพิมพ์ LAYEREVAL แล้ว Enter
แล้ว ตั้งค่า เป็น "0"

ตัวอย่าง :

Command: setvar
Enter variable name or [?]: layereval
Enter new value for LAYEREVAL <1>: 0
Command:

การตั่งค่า เป็น "0" เพื่อ ปิดการแจ้งเตือน
การตั้งค่า เป็น "1" เพื่อ ตรวจสอบเมื่อมี Layer ใหม่ของ Xref ใหม่ที่ดึงเข้ามาใช้งานในไฟล์
การตั้งค่า เป็น "2" เพื่อ ตรวจสอบเมื่อมี Layer ใหม่ได้ถูกเพิ่มใน Xref ที่ดึงเข้ามาใช้งานในไฟล์ และ Layer ใหม่ที่ถูกเพิ่มในไฟล์ใช้งาน

goodnight