วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Knowledge Management

          สวัสดีครับ วันนี้ เรามีบทความดีๆ ที่จะนำมาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านเจอ และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆบ้าง ลองอ่านดูกันนะครับ (18 Dec 2017)

เรียบเรียงโดย นายไสว โลจนะศุภฤกษ์
คณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ใน กรอ.

การจัดการความรู้คืออะไร

                    หลายท่านเห็นว่ามีคำว่าความรู้อยู่ก็เลยคิดว่าเป็นการจัดการที่ตัวความรู้ เช่น การฝึกอบรมวิชาการ  การจัดห้องสมุด การจับยัดความรู้วิชาการใส่ Web-site รายงานการประชุมต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นการหลงผิดและเป็นสาเหตุที่การจัดการความรู้ไม่ประสบความสำเร็จ
นิยามของ การจัดการความรู้"
                        การจัดการความรู้เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น  การสร้าง  รวบรวม แลกเปลี่ยนและใช้ความรู้ เป็นต้น  การจัดการความรู้เป็นระบบการบริหารองค์กรหรือเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ
1.          บรรลุเป้าหมายของงาน พัฒนางาน
2.          บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน การทำงานอย่างผู้รู้จริง
3.          บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
4.          บรรลุเป้าหมายของการบริการ แก่ผู้รับบริการ และชุมชน

กระบวนการจัดการความรู้

         ก่อนที่จะดำเนินการจัดการความรู้ สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการดำลับแรกก็คือเราจะจัดการความรู้เพื่ออะไร ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ก่อนเพื่อเป็นกรอบทิศทางในการจัดการความรู้มิให้การดำเนินการสะเปะสะปะ หลงทางเสียเวลาและเกิดความท้อถอยโดยเฉพาะกับผู้บริหารและเกิดความล้มเหลวในที่สุด วิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้จะต้องสอดคล้องกับทิทางการดำเนินธุรกิจและสามารถเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์กรด้วย
                  กระบวนการจัดการความรู้หรือพัฒนาการของความรู้ที่เกิดขึ้นในองค์กร ประกอบด้วย  7 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1.  การค้นหาความรู้ (Knowledge Identification)

                   เมื่อได้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมาย(Desired state) ที่ต้องการสำหรับการจัดการความรู้แล้วขั้นตอนแรกที่ต้องดำเนินการก็คือการค้นหาความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว เป็นขั้นตอนในการค้นหาว่าองค์กรมีความรู้อะไรบ้างรูปแบบใด อยู่ที่ใคร และความรู้อะไรที่องค์กรจำเป็นต้องมี เพื่อให้องค์กรวางขอบเขตการจัดการความรู้และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2.  การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge  Creation  and  Acquisition)

                  เป็นขั้นตอนในการดึงความรู้จากแหล่งต่าง ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวมไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ สำหรับความรู้ที่จำเป็นต้องมีแต่ยังไม่มีนั้น องค์กรอาจสร้างความรู้จากความรู้เดิมที่มีหรือนำความรู้จากภายนอกองค์กรมาใช้ก็ได้
         ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขั้นตอนนี้ประสบความสำเร็จคือบรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กรที่เอื้อให้บุคคลากรกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

3.  การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)

                  เป็นขั้นตอนในการจัดทำสารบัญ และจัดแบ่งความรู้ประเภทต่าง เพื่อให้รวบรวม  การค้นหา  การนำไปใช้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว  สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้โดยง่าย

4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)

                        เป็นขึ้นตอนการปรับปรุงและประมวลผลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจและใช้ได้ง่าย  กำจัดความรู้ที่ไม่เกิดประโยชน์ตามเป็าหมายวิสัยทัศน์หรือเป็นขยะความรู้

5.  การเข้าถึงความรู้  (Knonledge  Access)

                        ในการเข้าถึงความรู้ องค์กรต้องมีวิธีการในการจัดเก็บและกระจายความรู้เพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ได้  โดยทั่วไปการกระจายความรู้ให้ผู้ใช้มี  ลักษณะ คือ
      -  “Push”  การป้อนความรู้  เป็นการส่งข้อมูล/ความรู้ให้ผู้รับโดยผู้รับไม่ได้ร้องขอ  เช่นการส่งหนังสือวเวียนแจ้ง
      -  “Pull”  การให้โอกาสเลือกใช้ความรู้  โดยผู้รับสามารถเลือกรับหรือใช้แต่เฉพาะ  ข้อมูล/ความรู้ที่ต้องการเท่านั้น

6.  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  (Knowledge  Sharing) 

                   เป็นขั้นตอนในการนำความรู้ที่ได้จัดเก็บมาเผยแพร่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนกัน มี 2 ลักษณะ ดังนี้
            6.1 การแบ่งปันความรู้ประเภทความรู้ที่ชัดเจน( Explicit Knowledge)  วิธีที่นิยม  เช่น  การจัดทำเป็นเอกสาร วี ดีโอ  ซีดี  จัดทำฐานความรู้โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยจะทำให้สามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
            6.2 การแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในคน( Tacit Knowledge)  สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการและวัฒนธรรมองค์กร  ส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีผสมผสานเพื่อผู้ใช้ข้อมูลสามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวก  เช่น
             -  ระบบทีมข้ามสายงาน
             -  Innovation  &  Quality  Circles  (IQCs)
             -  ชุมชนนักปฏิบัติ( Community  of  Practice  :  CoP )
             -  ระบบพี่เลี้ยง  (Mentoring  System)
             -  การสับเปลี่ยนงาน  (Job  Rotaion)  และ การยืมตัวบุคลากรกรมมาช่วยงาน (Secondment)
             -  เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (Knowledge  Forum)

7.  การเรียนรู้  (Learning)

                        วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการจัดการความรู้  คือ  การเรียนรู้ของบุคลากรและนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินแก้ไขปัญหาและปรับปรุงองค์กร                        การเรียนรู้ของบุคลากรจะทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ  ขึ้นซึ่งจะไปเพิ่มพูนองค์ความรู้ขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นเรื่อย ๆ  ความรู้นี้ก็จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่อีกเป็นวงจรที่ไม่มีที่สิ้นสุด ที่เรียกว่า  วงจรการเรียนรู้








 

วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วิธีการคิดและการกระทำของผู้นำแบบ CEO

วิธีการคิดและการกระทำของผู้นำแบบ CEO
โดย พีระมิด (24 Oct 2017)

ผู้นำแบบ CEO กำลังเป็นที่ยอดนิยมในปัจจุบัน หลักการ วิธีการ และการกระทำของผู้นำแบบ CEO นั้น ทุกท่านทำได้ หากท่านได้ปฏิบัติตามดังต่อไปนี้


ซื่อสัตย์ และมีจรรยาบรรณ.

  1. เราต้องไม่โกหกตนเอง.
  2. ถ้าเราสามารถทนต่อความไม่จริงใจ ทนต่อคำโกหก หรือทนต่อการกระทำที่ไร้เกียรติของตัวเราได้ เราก็เป็นคนไร้ความรู้สึก ไม่รู้จักผิดหรือถูก การทำเช่นนั้น ก็เท่ากับเราโกงตัวเอง ไม่เคารพตัวเอง.
  3. ความจริงใจและคุณค่าของตัวท่านมีความสำคัญต่อเพื่อนมากกว่าความสำเร็จในการงาน.
  4. ท่านต้องไม่ชมตัวเองมากเกินไป.
  5. ผู้นำ CEO ต้องมีคุณธรรม.
  6. กระทำและสะสมความดีไว้.
  7. มีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพและธุรกิจ.
  8. ไม่ประพฤติตนและและพัวพันกับคอร์รัปชั่น.
มีความรู้สึกที่มั่นคงในตนเอง.

  1. ไม่มีใครสามารถทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ นอกจากเราจะเห็นด้วยกับคนพูด.
  2. ไม่ต้องเอาใจใส่ในสิ่งที่คนอื่นเขาพูดถึงเราจนเกินไป.
  3. ถ้าเรากังวลเกินไป ความกังวลนั้นจะทำให้ผู้พูดมีอำนาจเหนือเรา ในขณะเดียวกันจะทำให้ตัวเราอ่อนแอลง.


ข้อสำคัญ
อย่าหลงในความเชื่อมั่นของเราเกินไป.
อย่าเชื่อในคำสรรเสริญเยินยอของคนอื่นมากไป.


ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้

  1. เราต้องมีความเข้มแข็งในอารมณ์ของเราเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของเรา.
  2. เมื่อมีเหตุการณ์วิกฤต ขอให้จัดการด้วยความสงบ และสุขุมรอบคอบ (น้อยคนนักที่จะสามารถทำแบบนี้ได้).
  3. ถ้าเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ เราจะสูญเสียทุกอย่าง.
  4. ขอให้ระลึกว่า เมื่อเราพูดคุยกับใครก็ตาม เราจะแสดงอารมณ์ของเราด้วยสีหน้า น้ำเสียง ท่าทาง ด้วยการสัมผัส หรือความรู้สึกไปด้วย อาการเหล่านี้จะแสดงถึงความในใจของเราไปด้วย ฉะนั้น เราจะต้องระวังอารมณ์ของเราเสมอ.
อดทนเสมอ
  1. ความอดทนเป็นสิ่งที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จ.
  2. ถ้าเราท้อถอย ทิ้งงานกลางคัน ก็เท่ากับว่า เรายอมรับความพ่ายแพ้.
  3. ถ้าเรามีใจที่มั่นคง ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะง่ายหมด
พัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
  1. ความจริงมีอยู่ว่า การศึกษาเพื่อชีวิตจริงจะอยู่นอกสถานศึกษา การเรียนรู้จริงต้องเรียนจากชีวิตจริง.
  2. ชีวิต คือ การแสวงหาประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ ประสบการณ์ คือบทเรียนของเรา.
  3. ก่อนนอนทุกคืน ขอให้ทบทวนว่าในวันนี้ เราได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ อะไรบ้าง
 สติมาก่อนวาจา คิดก่อนทน

  1. คิดก่อน ก่อนที่จะลงมือทำ.
  2. เราต้องไม่ปล่อยให้ “งานด่วน” มีความหมายมากกว่า “งานสำคัญ” บางครั้งเราต้องเร่งงาน ทั้งนี้ เราต้องคิดก่อนทำเสมอ
  3. ขอให้เราพูดให้น้อยลงกว่าเดิม และรับฟังให้มากกว่าเก่า
  4. เราต้องฝึกตนเองให้มีหลักการที่ว่า
  5. พูดน้อย ๆ เพื่อจะได้ฟังมาก ๆ
  6. ใช้เวลาคิดมาก ๆ เพื่อจะได้คำตอบที่ถูกต้อง
  7. จัดลำดับในสิ่งที่ต้องการพูดให้เป็นไปตามขั้นตอน

เป็นนักสร้างโอกาส


  1. โอกาสไม่เคยรอใคร และเราก็ไม่ต้องรอโอกาส
  2. เราต้องสร้างโอกาส เพื่อสร้างความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ตัวเราเอง

ขอให้ถ่อมตัวเสมอ


  1. ขอให้หลีกเลี่ยงนิสัยที่แสดงความโอ้อวด พูดเกินความจริง การแสดงตัวเหนือผู้อื่น.
  2. เราสามารถพูดในสิ่งที่เราทำ ตามความเป็นจริงได้เสมอ.
  3. ขอให้ระลึกไว้ว่า ทุกคนจะรู้เท่าทัน ไม่ช้าก็เร็ว เพียงแต่ว่าเขาจะพูดหรือไม่เท่านั้น.
  4. คนเรามักจะคิดเสมอว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น เพราะตัวเขาแต่ผู้เดียว (เข้าใจผิดไปมาก).
  5. เราต้องระลึกไว้เสมอว่า ความสำเร็จจะเกิดไม่ได้เลย ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้.
  6. ความร่วมมือจากผู้อื่น.
  7. ความพยายามของผู้ร่วมงาน.
  8. ความเสียสละของผู้อื่น.
  9. ความรู้ความชำนาญของผู้อื่น.
  10. ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ.
  11. ผู้ให้การฝึกฝน ผู้ให้ความรู้
  12. ฯลฯ
ฉะนั้นเราควรยกย่องคนอื่นหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ช่วยให้ท่านบรรลุถึงความสำเร็จ

ต้องมีความกล้า


  1. เราต้องเป็นคนกล้าตัดสินใจ.
  2. การไม่ตัดสินใจไม่ก่อให้เกิดอะไรเลย.
  3. การตัดสินใจผิดดีกว่าไม่ตัดสินใจ.
  4. ตัดสินใจผิด สูญเสียก็จริง แต่สามารถปรับปรุงและแก้ไขสถานการณ์ได้.
  5. เราต้องกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ

มีอารมณ์ขัน


  1. การทำงานจะสนุกขึ้นมากและจะได้ผลมาก ถ้าทำด้วยอารมณ์ขัน.
  2. อย่าเพียงแต่มีอารมณ์ขัน แต่ขอให้ใช้อารมณ์ขันเสมอ ๆ เราสามารถใช้อารมณ์ขันได้ทุกโอกาส

เป็นคนละเอียด รอบคอบ


  1. ความละเอียดจะเสริมงานของเราให้ดียิ่งขึ้น.
  2. ความละเอียดจะทำงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น.
  3. บางครั้ง เราพลาดนิดเดียว แต่งานเสียหายหมด

มีความสามารถ


  1. ถ้าเราไม่สามรถทำให้คนอื่นเห็นได้ว่าเราเป็นส่วนสำคัญในหน่วยงานของเราด้วยความสามารถและผลงาน เราจะต้องประสบกับปัญหาใหญ่แน่นอน.
  2. การสร้างผลงาน จะช่วยให้คนอื่นมีความเชื่อมั่นในตัวเราเท่า ๆ กับที่เราเชื่อมั่นในตัวเราเอง.
  3. ขอให้มีแผนงาน และขอให้ทำงานตามแผนงาน.
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนอื่นมีความสำคัญเท่า ๆ กับผลงานของเรา.
  5. การเป็นผู้นำ การให้ความรู้ และการสนับสนุนผู้อื่น จะสร้างความแตกต่างให้กับเรา
สนับสนุนเพื่อนร่วมงาน

  1. เราต้องยอมให้คนอื่นก้าวหน้ากว่าเราได้ ขอให้สนับสนุนเขา ยอมรับความพยายามของเขา เราต้องช่วยเขา ไม่ให้เขาตกลงมา และนั่นคือ วิธีการเป็นผู้นำที่แท้จริง.
  2. ขอให้เชิญคนที่เก่ง ๆ มาร่วมทำงาน เพื่อเราจะได้มีโอกาสสนับสนุนเขาให้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้.
  3. ความคิดที่แตกต่าง หมายถึง ความคิดหลากหลาย.
  4. ถ้าเรามีแต่คนที่เห็นด้วยกับเราเสมอ นั่นหมายถึงว่า ไม่ตัวเราก็คนที่ทำงานด้วยนั้นไม่มีประโยชน์.
  5. ถ้าเราใช้ความคิด และความรอบคอบ เราจะสามารถทำงานให้สำเร็จได้รวดเร็วโดยไม่มีความเสียหายใด ๆ
พร้อมยอมรับความผิดพลาด

  1. อย่ากลัวทำผิด และสำคัญกว่านั้น อย่ากลัวที่จะรับผิด.
  2. ขอให้ค้นหาตัวอุปสรรคและสิ่งที่มาขัดขวางความสำเร็จ เพื่อเราจะได้รู้ถึงข้อผิดพลาด และจะได้แก้ไขได้ถูกต้อง.
  3. หากมีผลเสียหายกับส่วนรวม บอกไปเลยว่าเราผิด
เป็นคนตรงไปตรงมา

  1. เวลาเราสื่อสารกับคนอื่น ขอให้พูดให้ชัดเจน มีเป้าหมาย และขอให้พูดเป็นงานเป็นการเสมอ.
  2. เมื่อเราจะพูดในที่ชุมชน ขอให้พูดแต่เนื้อ ๆ และพูดให้กระชับ
เป็นสุภาพชน

  1. เชื่อหรือไม่ คนสุภาพเป็นคนง่าย ๆ ที่คนเข้าถึงได้ตลอดเวลา เพราะเหตุนี้คนสุภาพจึงสามารถไปถึงจุดสุดยอดได้.
  2. โดยความเป็นจริง คนทุกคนมีอิทธิพลต่อผู้อื่นอย่างสูง.
  3. ขอให้รับรู้ว่า คำพูดหรือการกระทำที่ไร้สาระ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ และทำลายโอกาสดี ๆ ได้
ขอให้ถามเสนอ

  1. อย่าคิดว่าคนอื่นคิดเหมือนเรา ฉะนั้น.
  2. ขอให้ ถาม ในสิ่งที่เรา สงสัย.
  3. ขอให้ ฟัง ในสิ่งที่เรา ได้ยิน.
  4. ขอให้ คิด ในสิ่งที่เรา ได้รับรู้.
  5. ขอให้หาเวลาพูดคุย กับผู้สูงอายุให้มาก ๆ.
  6. ขอให้สร้างเครือข่ายพรรคพวกของเราตั้งแต่วันนี้ และอีกไม่นาน เราจะดีใจที่เราได้เริ่มในวันนี้.
  7. ขอคำแนะนำจากทุก ๆ คน ขอคำแนะนำจากผู้อื่นมาก ๆ ยิ่งเรามั่นใจเท่าไร เรายิ่งต้องหาคำแนะนำให้มากขึ้นเท่านั้น เพราะความมั่นใจมักจะทำให้เราหลงทางได้.
  8. ขอให้ตั้งคำถามกับตนเสมอ ๆ ว่า “อะไรจะเกิด ถ้า…………”
มีความยืดหยุ่น

  1. หนทางสู่จุดสุดยอด หรือการแก้ปัญหา ไม่ได้มีเพียงหนทางเดียว.
  2. คนที่รู้จักการยืดหยุ่น เป็นคนที่ได้เปรียบผู้อื่น
มีน้ำใจเป็นนักแข่งขัน

  1. ชีวิตจริงเป็นชีวิตที่อยู่ในสภาพการแข่งขันเสมอ.
  2. การแข่งขันเป็นสิ่งดี สำหรับความก้าวหน้าของตนเอง.
  3. การแข่งขันที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือ การแข่งขันกับตนเอง.
  4. เราต้องมีอารมณ์ขันเสมอ ไม่ว่าเราจะเป็นผู้ชนะ หรือแพ้ก็ตาม
มีทักษะในการพูด

  1. ขอให้พูดกระชับ เหมาะกาลเทศะ และมีอารมณ์ขัน.
  2. การเล่าเรื่องด้วย คำพังเพย คำคม คำเปรียบเทียบ หรือตัวอย่างต่าง ๆ จะสามารถลดความยุ่งยากได้ดีกว่า.
  3. รู้จักการใช้ภาษาให้ถูกต้อง.
  4. หัดฝึกพูดต่อหน้าผู้อื่นเสมอ


วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

คู่มือธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรม ตอนที่ 2/2


2.2 สภาวะตลาดและแนวโน้มการแข่งขันภายในประเทศ


          โครงสร้างอุตสาหกรรมในประเทศ จากข้อมูลของสํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (รูปที่ 2) แสดงถึงอัตราการเพิ่มข้ึนของการลงทุนด้านก่อสร้างจากปี 2545 ท่ีจํานวน 262.77 พันล้านบาทเป็น 395.89 พันล้านบาทในปี 2550 การเพิ่มข้ึนของการลงทุนด้านก่อสร้างนี้สะท้อนถึงการสนับสนุนของรัฐบาลในการรองรับธุรกิจก่อสร้างและวิศวกรรมแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัวก็ตาม 



          ในส่วนของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้น จากข้อมูลของกรมโรงงาน อุตสาหกรรม แสดงถึงการสนับสนุนการลงทุนด้านการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็น จํานวนเงินถึง 4 ล้านล้านบาทในปี 2551 (ตารางท่ี 1) ซึ่งในการผลักดันอุตสาหกรรม เหล่านี้จําเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมเช่นกันใน แง่ของการออกแบบและให้บริการติดตั้งเครื่องจักร การออกแบบกระบวนการผลิต 


เห็นได้ว่าธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมเป็นธุรกิจหลักในการพัฒนา ภาคก่อสร้างและอุตสาหกรรม โดยผู้ลงทุนในธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมส่วนมากมี ความต้องการวิศวกรด้านก่อสร้างและเครื่องกลมากถึงร้อยละ 50 (73,794 คน) ของปริมาณวิศวกรทั้งหมดซึ่งรับผิดชอบในส่วนการออกแบบและติดต้ัง1 (รูปท่ี 3) การลงทุนด้านเทคโนโลยีของประเทศก็ส่งผลต่อการลงทุนของธุรกิจให้บริการด้าน วิศวกรรมเช่นกัน นอกเหนือจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน การคิดค้นพัฒนา เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือระบบการจัดการใหม่ๆ จะกระตุ้นแนวโน้มความต้องการและ การลงทุนของธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมด้วย เช่น การลงทุนด้านธุรกิจพัฒนา ซอฟท์แวร์ การพัฒนาความสามารถของผู้ผลิตสินค้าและเทคโนโลยีวิศวกรรม 


          ภาวะของธุรกิจน้ีโดยท่ัวไปจะเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน กับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างภายในประเทศ ขณะท่ี ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างจะเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับ อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Products: GDP) หากพิจารณาตามประเภทของการลงทุนจะพบว่าการลงทุนใน อุตสาหกรรมการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนโดยท่ัวไปจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใน ทิศทางที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ ในขณะท่ีระบบเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว การลงทุน ในภาคการก่อสร้างของภาคเอกชนจะมีปริมาณสูง ในขณะที่ภาครัฐจะลดการลงทุน ในภาคการก่อสร้างลงเพื่อชะลอความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจและควบคุมระดับ ราคา (เงินเฟ้อ) ไม่ให้อยู่ในระดับท่ีสูงจนเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพของ ระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ในทางตรงข้ามเมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในช่วง ชะลอตัวหรืออยู่ในภาวะถดถอย การลงทุนในภาคการก่อสร้างของภาคเอกชนจะมี ปริมาณลดตํ่าลง ทางภาครัฐจึงต้องเข้ามากระตุ้นระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนใน ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและ งานวิศวกรรมไฟฟ้าและเครื่องกลมีการแข่งขันที่สูงข้ึน รวมท้ังการเพิ่มขึ้นของจํานวน บริษัทรับเหมาก่อสร้างส่งผลให้ในปัจจุบันมีการแข่งขันประมูลงานสูงขึ้นกว่าเดิม ทําให้ผู้รับเหมาบางรายอาจลดราคามูลค่างานลงเพื่อให้ชนะประมูล การแข่งขัน ดังกล่าวอาจทําให้กําไรขั้นต้นของบริษัทลดลง แนวทางในการดําเนินธุรกิจเน้นไปท่ี การเลือกประมูลงานที่บริษัทมีความชํานาญและสามารถควบคุมได้ เพื่อให้ได้กําไร ขั้นต้นในอัตราท่ีเหมาะสม เนื่องจากโครงการก่อสร้างและงานวิศวกรรมไฟฟ้าและ เครื่องกลมาจากการประมูลงาน การสร้างความน่าเชื่อถือต่อเจ้าของโครงการต่างๆ ถึง ศักยภาพและคุณภาพงานของบริษัทน้ันมีความจําเป็นยิ่ง ปัจจัยท่ีผู้ประกอบการ ธุรกิจต้องคํานึงถึงในการให้บริการได้แก่ ปัจจัยด้านราคา บริการ การส่งมอบ และ คุณภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 

          การแข่งขันภายในประเทศของธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมมีการแข่งขันกัน ในด้านที่สําคัญ ดังนี้


          การแข่งขันด้านราคา ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมมีการแข่งขันกัน อย่างรุนแรงอันเนื่องมาจาก ราคา ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีอํานาจในการต่อรอง หรือเงื่อนไขพิเศษต่างๆ และผู้รับเหมาข้ามชาติ การเสนอราคาประมูลที่ตํ่าทําให้ ผู้รับเหมารายเล็กหรือรายใหม่ มีโอกาสน้อยมากท่ีจะเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทําให้ คุณภาพโครงการที่ทําลดลงด้วย


          การแข่งขันด้านทุนและพันธมิตรทางการค้า ความร่วมมือระหว่าง พันธมิตรทางการค้าถือว่ามีความสําคัญและมีความจําเป็นอย่างย่ิงต่อการแข่งขันของ ธุรกิจวิศวกรรมในประเทศ เนื่องจากการถ่ายทอดเทคนิค เทคโนโลยีการก่อสร้างนํา สมัย และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากบริษัทที่เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมจะเป็น อุปสรรคให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถชนะโครงการประมูลได้ ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ในธุรกิจก่อสร้าง หน่วยงานรัฐบาลองก็เปิดให้บริการ วิศวกรรมเช่นกัน ทําให้ธุรกิจวิศวกรรมมีอัตราการแข่งขันที่สูงข้ึน 

2.3 สภาวะตลาดและแนวโน้มการแข่งขันในต่างประเทศ


          อัตราการเติบโตของงานบริการทางวิศวกรรมทั่วโลกมีการเติบโตขึ้น ประมาณร้อยละ 2 อีกทั้งการขยายตัวของงานบริการวิศวกรรมไปยังนานาประเทศถือ เป็นแนวทางการดําเนินธุรกิจบริการวิศวกรรมในปัจจุบัน การลงทุนในงานบริการ วิศวกรรมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2563 โดยอยู่ใน ธุรกิจยานยนต์ร้อยละ19 ธุรกิจการบินอากาศร้อยละ 8 และธุรกิจสินค้าเทคโนโลยี และการสื่อสารถึงร้อยละ 30 จากแนวโน้มนี้ทําให้ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมของ ประเทศไทยประสบกับภาวการณ์คุกคามจากการลงทุนของบริษัทข้ามชาติในระดับสูง อีกท้ังนโยบายการเป็ดเสรีทางการค้าในภาคธุรกิจให้คําปรึกษาก็เป็นการเพิ่มภาวะ เสี่ยงสําหรับผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมไทยอยู่ไม่น้อย ในมุมมองของ บริษัทต่างชาติน้ันปริมาณงานปัจจุบันในประเทศเหล่านั้นลดน้อยลง ขณะเดียวกัน การกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศ และการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ ส่งผล ให้บริษัทวิศวกรท่ีปรึกษาและบริษัทรับเหมาก่อสร้างเหล่าน้ีเข้ามาแข่งขันเป็นจํานวน มาก 
          การพิจารณาเปิดเสรีทางการค้างานด้านบริการก็มีส่วนผลักดันให้เกิด การลงทุนในภาคธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมด้วย ปัจจุบันประเทศไทยได้ผ่อนปรน การให้บริการด้านการก่อสร้างโดยเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน ร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน และอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาประกอบอาชีพ ชั่วคราว เฉพาะในระดับบริหาร ผู้จัดการ ผู้เช่ียวชาญเฉพาะยกเว้นวิศวกรโยธา ทําให้ บริษัทก่อสร้างต่างประเทศเข้ามาร่วมถือหุ้นกับบริษัทก่อสร้างไทยและส่งผู้บริหารหรือ วิศวกรชาวต่างประเทศมาบริหารและควบคุมงานก่อสร้างได้ ทําให้ด้านการรับเหมา ก่อสร้างและวิศวกรรมมีการแข่งขันสูงขึ้น ทิศทางในธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรม ปัจจุบันจึงต้องมุ่งเน้นการแข่งขันด้านราคา และบริการต่างๆ ระหว่างดําเนินโครงการ มากข้ึน เนื่องจากผู้ว่าจ้างโครงการในประเทศไทยเน้นเรื่องค่าใช้จ่ายมากกว่าปัจจัย อื่นๆ เช่น ความสวยงามในการออกแบบ การประหยัดพลังงาน เป็นต้น
          ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านความสามารถในการออกแบบ และมีต้นทุนตํ่า กรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้กําหนดแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมรับงานในต่างประเทศเพิ่มข้ึน ขยายการประกอบธุรกิจใน ต่างประเทศ และผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ท้ังยังมี การเสนอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาต้ังสถาบันในลักษณะท่ีเป็นองค์กรมหาชน เพื่อพัฒนาส่งเสริมธุรกิจบริการออกแบบและก่อสร้าง
          เมื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมของต่างประเทศ พบว่า ประเทศต่างๆ กําลังมุ่งพัฒนาความสามารถของวิศวกรท้ังด้านการวิเคราะห์ คํานวณ การวิจัยและพัฒนา รวมวิศวกรรมระดับสูง เช่น ประเทศอินเดีย ซึ่งรัฐบาล อินเดียเล็งเห็นว่าการพัฒนาความสามารถของวิศวกรและผลักดันให้วิศวกรทํางานในส่วนการสนับสนุนงาน (Back office) น้ันสามารถช่วยให้การดําเนินโดยรวมน้ัน มีค่าใช้จ่ายท่ีลดลงซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศและมีส่วนช่วยให้ได้เปรียบในการประมูลงาน องค์ประกอบสําคัญของธุรกิจวิศวกรรม ของอินเดีย คือ การพัฒนาความรู้และการศึกษาวิศวกรรมตามมาตรฐานสากล การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผ่านการจ่ายค่าตอบแทนให้สูงข้ึน รวมทั้งการบริหาร โครงการต่างๆ ในระดับภูมิภาคหรือทวีป2
          ธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมในหลายประเทศมีโอกาสเติบโตและ ขยายขอบเขตการลงทุน ดังน้ันธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมไทยต้องสามารถพัฒนา เพื่อรองรับแนวโน้มดังกล่าว ซึ่งการลงทุนของธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรมใน ต่างประเทศสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น
 ปัจจัยด้านกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศ สําหรับประเทศไทย มีกฎหมายสําคัญท่ีเกี่ยวข้องกับด้านแรงงาน ได้แก่ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ซึ่งระบุให้กิจการที่มีคนงานต้ังแต่ 20 คนข้ึนไปต้องมีข้อตกลงเก่ียวกับ เงื่อนไขการจ่างงาน เช่น วันทํางานและชั่วโมงทํางานค่าจ้าง การส้ินสุดการจ้างงาน เป็นต้น และ พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีเน้ือหาสาระสําคัญ อาทิ วันทํางาน ค่าแรงขั้นตำ่ ค่าล่วงเวลา เป็นต้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอาจมีผลต่อ ต้นทุนการประกอบธุรกิจปัจจัยด้านข้อกําหนดด้านมาตรฐานสากล ผู้ประกอบการควรยื่นขอ ใบอนุญาตตามมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 และ ISO 14000 ซึ่งเป็นข้อ กําหนดการประกันคุณภาพในการผลิตและติดต้ัง เช่น ความรับผิดชอบ ด้านการบริหาร การควบคุมเอกสาร การจัดซื้อ การควบคุมกระบวนการ และการฝึกอบรม เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการให้บริการสําหรับ การจัดการด้านส่ิงแวดล้อม ท่ีบริษัทต่างประเทศต้องการ
           ปัจจัยด้านนโยบายด้านภาษีอากร เนื่องจากธุรกิจให้บริการ ด้านวิศวกรรมต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยี การดําเนินธุรกิจในต่างประเทศนั้น ผู้ประกอบการต้องทราบถึงอัตราการภาษีการนําเข่าเทคโนโลยีของประเทศนั้นๆ สําหรับประเทศไทยรัฐบาลได้ประกาศใช้มาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน โดยปรับลดภาษีนําเข่าสินค้าทุน เช่น เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องมือวัดและ ทดสอบและส่วนประกอบจากร้อยละ 5 และ 20 ลงเหลือ ร้อยละ 3 ทั้งนี้เพื่อช่วย ผู้ประกอบการในประเทศให้สามารถแข่งขันกับสินค้านําเข่าได้ โดยช่วยลดต้นทุน การผลิตสินค้าและการให้บริการต้าง ๆ ซึ่งรวมถึงต้นทุนในการก่อสร้างและบํารุงรักษา
  

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

การปฏิบัติสําหรับ SPP ที่ซื้อไฟฟ้าสํารอง


กรณีการซื้อไฟฟา้สํารองของ SPP เช่น NPS โครงการละ 15 MW โดยปกติจะมีการคิดเงิน 

1. เดือนที่ไม่มีการใช้ไฟฟ้า สํารอง คิดเงิน กิโลวัตต์ละ 33.64 บาท

2. เดือนที่มีการใช้ไฟฟ้า สำรอง
          2.1 ใช้ต่ำกว่าสัญญา คิดเงิน


          ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า = ความต้องการพลังไฟฟ้าจริงในอัตราค้าไฟฟ้าปกติ (102.8 บาท/kW) + พลังไฟฟ้าส่วนที่ต่ำกว่าสัญญาในอัตราค่าไฟฟ้า สํารอง

          ค่าพลังงานไฟฟ้า = พลังงานไฟฟ้าที่ใช้จริงในอัตราค่าไฟฟ้าปกติ (TOU Rate แพงสุดประมาณ 1.53 บาท/kWh)

          2.2 ใช้มากกว่าสญัญาคิดเงิน


          ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า = ความต้องการพลังไฟฟ้าจริงแต่ไม่เกินสัญญาในอัตราค่าไฟฟ้าปกติ (102.8 บาท/kW) + พลังไฟฟ้าส่วนท่ีเกินก่วาสัญญาใน อัตรา 2 เท่าค่าไฟฟ้าปกติ

          ค่าพลังงานไฟฟ้า = พลังงานไฟฟ้าที่ใช้จริงในอัตราค่าไฟฟ้าปกติ (TOU Rate แพงสุดประมาณ 1.53 บาท/kWh)


3. ค่าพลังรีแอคทีฟ ( Reactive Demand Charge )


          หาก Power Factor ที่จุดส่งมอบ ต่ำกว่า 0.85 Lagging กฟผ.จําคํานวณค่า VAR ส่วนที่ทําให้ Power Factor ต่ำกว่า 0.85 Lagging โดยคํานวณที่ค่าสูงสุดของแต่ละเดือน ในอัตรา kVAR ละ 14 บาท 


หมายเหตุ
          ช่วงที่ MW และ MVAR สูงสุดของแต่ละเดือนอาจไม่ตรงกันก็ได้ครับ การคิดค่า VAR จะคิดเฉพาะช่วงท่ี SPP รับ Watt เท่าน้ัน กรณี SPP จ่าย Watt เข้าระบบ แต่รับ VAR จะไม่คิดเงิน 

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รายละเอียดหม้อไอน้ำหรือ Boiler


          สวัดดีครับ นานเหมือนกันที่เราไม่ ได้คุยกัน วันนี้ ผู้เขียน มีบทความดีๆ เกี่ยวกับ boiler มาให้เพื่อนๆได้อ่าน โดยเนื้อหาที่นำมาให้เพื่อนได้อ่านในวันนี้ เป็นเรื่องของ สวนประกอบ boiler ซึ่งผู้เขียนคิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ boiler นะครับ

รายละเอียดหม้อไอน้ำหรือ Boiler

รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ หม้อไอน้ำหรือ Boiler
  • ประเภทของห้องเผาไหม้ กับการใช้งานของถ่านหิน
  • วีธีการจัดเก็บถ่านหิน
  • การลำเลียงถ่านหิน
  • การจัดการและควบคุมจากการเผาไหม้
  • ผู้ผลิต และจำหน่าย Boiler ในประเทศไทย

ประเภทห้องเผาไหม้กับการใช้งานของถ่านหิน

1. Pulverized Combustion

แหล่งที่มา www.lanl.goy


          หลักการทำงาน : เป็นการเผาไหม้ถ่านหินที่เป็นผงละเอียดเสมือนแป้ง ฝุ่น ระบบจึงต้องมีเครื่องบดถ่านให้ละเอียดโดยหัวพ่นผงถ่านหินจะพ่นผงถ่านหินเข้าไปในเตา อากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ซึ่งจะมาบรรจบรวมกันที่หัวพ่นถ่านหิน และเกิดการเผาไหม้ที่หัวพ่น
          ประสิทธิภาพการเผาไหม้ :  สูงมาก
          ค่าใช้จ่าย :  สูงมาก
          ขนาดของถ่านหินที่เหมาะสมต่อการใช้งาน :  200Mesh หรือ ประมาณ 70 ไมครอน 

 2. Fluidized Combustion 

          หลักการทำงาน : เป็นการเผาไหม้ถ่านหินที่มีขนาดเล็กโดยที่ ถ่านหินจะแห้งและติดไฟ และกระจายอย่างสม่ำเสมอ และคลุกเคล้ากับอากาศอย่างทั่วถึงเป็นเวลานาน  ส่วนการเผาไหม้แบบนี้อาจต้องใช้ ของแข็ง เช่น ทราย หรือใช้ขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้เพื่อเป็นตัวกระจายความร้อนให้ทั่วถึง การเผาไหม้ประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายลาวาเดือด
          ประสิทธิภาพการเผาไหม้ : สูงมาก
          ค่าใช้จ่าย : ปานกลาง - สูง
          ขนาดของถ่านหินที่เหมาะสมต่อการใช้งาน : 0 -10มิลลิเมตร


3. Travelling Grate Stroker
 


หลักการทำงาน : ประกอบด้วยตะกรับเป็นแผ่นโลหะต่อกันเป็นรูปสายพาน เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงถ่านหินที่กำลังเผาไหม้โดยถ่านหินจะถูกเผาไหม้จนหมด และกลายเป็นขี้เถ้าซึ่งจะตกลงบริเวณปลายสุดของตะกรับ
          ประสิทธิภาพการเผาไหม้ :  สูง
          ค่าใช้จ่าย :  ปานกลาง
          ขนาดของถ่านหินที่เหมาะสมต่อการใช้งาน :  10 -20 มิลลิเมตร


4. Step Grate & Pushing Grate Stroker

          หลักการทำงาน : ระบบการเผาไหม้นี้มีลักษณะการลำเลียงถ่านเพื่อเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตะกรับที่มีลักษณะเอียงลาดเหมือนขั้นบันได โดยถ่านหินจะตกลงจากด้านบนลงด้านล่าง ตามขั้นบันได ถ่านหินจะถูกเผาไหม้จนกลายเป็นเถ้าหมดบริเวณ ด้านล่างสุดของขั้นบันได
          ประสิทธิภาพการเผาไหม้ :  สูง
          ค่าใช้จ่าย :  ปานกลาง
          ขนาดของถ่านหินที่เหมาะสมต่อการใช้งาน :  10 -20 มิลลิเมตร


5. Underfeed Stroker

           หลักการทำงาน : ระบบนี้ถ่านหินจะถูกป้อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้จากด้านล่างของห้องเผาไหม้ และถ่านหินจะไปกองบริเวณกลางห้องเผาไหม้ ส่วนขี้เถ้าจะถูกดันให้ตกไปอยู่บริเวณ ข้างกองและจะต้องทำการเปิดห้องเผาไหม้ เพื่อนำขี้เถ้า ออกมา (สำหรับระบบเก่าแต่ระบบปัจจุบันจะมีตะกรับพลิกขี้เถ้าอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเตา)จึงทำให้ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำประเภทนี้ต่ำ
         ประสิทธิภาพการเผาไหม้ :  ต่ำ
         ค่าใช้จ่าย :  ต่ำ
         ขนาดของถ่านหินที่เหมาะสมต่อการใช้งาน :  20 – 50 มิลลิเมตร


6. Spreader Stroker
 

แหล่งที่มา http://www.fao.org/docrep/P2396E/p2396e03.jpg

          หลักการทำงาน :  ถ่านหินถูกป้อนเข้าห้องเผาไหม้ด้วยตัวเหวี่ยงหรือ Spreader โดยถ่านหินแต่ละขนาดจะถูก เหวี่ยงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ถ่านหินก้อนใหญ่จะถูกเหวี่ยงไปได้ไกล  ส่วนถ่านหินก้อนเล็กจะตกบริเวณใกล้ตัว Spreader ถ่านหินจะตกลงบนหลังรางเลื่อน เพื่อเผาไหม้ต่อไป
         ประสิทธิภาพการเผาไหม้ :  สูง
         ค่าใช้จ่าย :  ปานกลาง – สูง
         ขนาดของถ่านหินที่เหมาะสมต่อการใช้งาน :  ขนาด 0- 50 mm


วิธีการจัดเก็บถ่านหิน

1. Stock Pile 
 

          เป็นการจัดเก็บถ่านหินกลางแจ้ง
          เป็นการกองเก็บถ่านหินที่มีปริมาณมาก
                    ข้อดี
                      เก็บถ่านหินได้ในปริมาณมาก
                      ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกองเก็บ
                    ข้อเสีย
                      ควบคุมและป้องกันการฟุ้งกระจายของถ่านหินได้ยาก
                      กรณีฝนตกทำให้ความชื้นในถ่านหินที่เพิ่มขึ้น
                     จะเกิดการ Spontaneous Combustion ได้ง่ายในกรณีกองเก็บมีขนาดใหญ่
  
2. Bunker



ที่มาจากการศึกษา


          เป็นการจัดเก็บถ่านหินในตัวอาคารหรือในที่ร่ม
          เป็นการเก็บถ่านหินที่มีปริมาณจำกัด สำหรับ เตรียมเพื่อนำไปใช้งาน
                    ข้อดี
                      ควบคุมและป้องกันการฟุ้งกระจายได้ดี
                      ควบคุมความชื้นในถ่านหินได้ กรณีที่ฝนตก
                    ข้อเสีย
                      เก็บถ่านหินได้ในปริมาณจำกัด
                      เสียค่าใช้จ่ายในการสร้างอาคารเก็บ

3. Hopper
      
   

          เป็นการจัดเก็บถ่านหินในถังปิด
          เป็นการเก็บแบบ Live Storage เพื่อเก็บถ่านหินไว้รอป้อนเข้าเตาเผาโดยตรง
          ขนาดของ Hopper ขึ้นอยู่กับอัตราการใช้งาน และการเผาไหม้ของ Boiler

4. Vertical Silo


แหล่งที่มา : http://ludb.clui.org/ex/i/AZ3215/



          เป็นการจัดเก็บถ่านหินในถังปิด
          เป็นการเก็บถ่านหินที่มีปริมาณปานกลาง และมีจำกัด
                     ข้อดี
                      ควบคุมและป้องกันการฟุ้งกระจายของถ่านหินได้ดี
                      ควบคุมความชื้นในถ่านหินได้ในกรณีฝนตก
                      เหมาะสำหรับการเก็บที่มีพื้นที่ไม่มาก
                                       ข้อเสีย
                      เสียค่าใช้จ่ายในการสร้างถังเก็บซึ่งมีขนาดใหญ่



รายละเอียดหม้อไอน้ำหรือ Boiler

การลำเลียงถ่านหิน

1. Bucket Elevator
 

            ใช้สำหรับในการลำเลียงแนวดิ่ง
            ส่วนประกอบได้แก่โซ่หรือสายพาน และ Bucket
 
2. Screw Conveyor
  
  

             
             ใช้สำหรับลำเลียงแนวราบหรือแนวเอียง


3.Belt Conveyor

 

            ใช้สำหรับลำเลียงในแนวราบและแนวเอียงที่มีความชันไม่มาก
            ส่วนประกอบได้แก่สายพาน และ Roller
  
การจัดการและการควบคุมหลังจากการเผาไหม้ถ่านหิน

1. Electrostatic Precipitator( ESP)
 




แหล่งที่มา : http://ceenve.calpoly.edu/cota/ESP_diagram.gif
          หลักการทำงาน :  คือการให้ก๊าซที่มีอนุภาคของมวลสารไหลผ่านเส้นลวดที่มีประจุไฟฟ้าสูง(30000-60000Volt) และแขวนอยู่ระหว่างแผ่นโลหะที่ต่อลงดิน อนุภาคในก๊าซจะรับประจุไฟฟ้า จึงถูกดูดลงติดกับแผ่นโลหะ จากนั้นจะมี rapper กวาดอนุภาคที่เกาะบนผิวแผ่นโลหะลงสู่ Hopper ที่อยู่ด้านล่าง

2. Flue Gas Desulfurize (FGD)


 




     
 


มีสองระบบคือ regenerate กับ nonregenerate

          Regenerate  นั้นจะใช้สารที่เป็นตัวดูดซับก๊าซ SO2จาก Flue Gas โดยเมื่อใช้ดูดซับก๊าซ SO2 แล้วจะนำไปผ่านกระบวนการแยกให้เป็นสารเดิม เพื่อนำกลับมาใช้ดูด ซับก๊าซ SO2 ได้อีกครั้งโดย ผลิตภัณฑ์หรือผลพลอยได้จากกระบวนการนี้คือ กรด H2SO4 หรือ ธาตุกำมะถัน
           Nonregenerate  ส่วนระบบนี้สารที่ดูดซับก๊าซ SO2 ซึ่งอาจเป็นปูนขาวหรือหินปูน เมื่อใช้ดูดซับก๊าซ SO2 แล้วจะไม่ถูกนำกลับมาใช้อีก ผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากกระบวนการนี้เป็นเกลือ เช่น CaSO2 , Ca SO4  และ MgSO4 เป็นต้น

3.  Multi Cyclone
                      
    


                            แหล่งที่มา :  http://www.industryoptimizers.com/multi.html

          หลักการทำงาน : ของเครื่องชนิดนี้คืออาศัยหลักการเหวี่ยงตัวของอนุภาคของของแข็ง แล้วทำให้แยกของแข็งที่ปนเปื้อนมากับ Gas ได้ โดยประสิทธิภาพของเครื่องจะขึ้นอยู่กับ แรงดัน และ ขนาด ของตัวCyclone เอง

4. Wet Scrubber
               





       


แหล่งที่มา : www.forbesgroup.co.uk

เหมาะกับการดักอนุภาคของแข็ง หรือฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก โดยหลักการทำงานจะใช้น้ำเป็นตัวดักจับฝุ่นที่ปนเปื้อนมากับก๊าซ