วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เรื่องราวเบื้องต้น: ก๊าซชีวภาพ

ใหม่ อาศัยอยู่ในฟาร์มในประเทศจีนกับแม่และพ่อของเธอ ในฟาร์มของพวกเขาเลี้ยงสุกร และพวกเขาปลูกข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสุกร

ทุกเช้าใหม่ช่วยแม่ของเธอเลี้ยงสุกร และ ทุกๆเย็นหลังเลิกเรียนใหม่ช่วยพ่อเลี้ยงลูกสุกร

เมื่อวันเสาร์พวกเขาเลือกหมูที่ใหญ่ที่สุด และฆ่ามัน

เมื่อวันอาทิตย์ที่พวกเขาไปตลาดกลางแจ้งในหมู่บ้าน พวกเขาขายเนื้อสัตว์ เพื่อนำเงินที่ได้ไปซื้อสิ่งที่พวกเขาต้องการ

ฟาร์มของใหม่อยู่ในประเทศที่ ไม่มีไฟฟ้า แต่บ้านของใหม่มีไฟและเตา พวกเขาสร้างมันขึ้นมาจากก๊าซชนิดพิเศษที่เรียกว่าก๊าซชีวภาพ ครอบครัวของใหม่ทำก๊าซชีวภาพในฟาร์มของพวกเขา

ทุกวัน ใหม่และพ่อแม่ ของเธอรวบรวมต้นข้าวโพดจากทุ่งนา, ซังข้าวโพดที่สุกรไม่กิน, เก็บปุ๋ยคอกจากคอกหมู

ในลานหลังฟาร์มของ ใหม่ มีภาชนะขนาดใหญ่ พวกเขาใส่ของเสียทั้งหมดเข้าไปในนั้น และทำการปิดบ่อให้สนิดเพื่อไม่ให้อากาศ เข้าไปในบ่อหมักก๊าซ

เมื่อขยะเน่าเปลื่อยจะทำให้เกิดก๊าซชีวภาพ ก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นถูกนำไปใช้งานโดยไหลผ่านระบบท่อเข้าไปในบ้านของใหม่ มันไหลเข้าไปในเครื่องกำเนิดแสงเพื่อให้บ้านสว่าง มันไหลลงสู่เตา แม่ของใหม่ใช้ทำอาหารและทำให้บ้านอบอุ่น ก๊าซชีวภาพเป็นก๊าซสะอาด ไม่ก่อให้เกิดควัน

พ่อของใหม่ ทิ้งของเสียหลังจากการผลิตก๊าซ ขยะเหลือทิ้งสามารถทำเป็นปุ๋ยที่ดี เขากระจายมันลงบนทุ่งนา เพื่อปลูกข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดโตเร็วขึ้น เพื่อนำไปเลี้ยงสุกร

กิจกรรมหลัก: ก๊าซชีวภาพ

แนวคิด:
พืชและอาหารที่สลายตัว
เป็นสารอินทรีย์ (เช่นอาหาร) พวกเขาผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน

เวลา:
หนึ่งสัปดาห์สำหรับการรวบรวมข้อมูล

วัสดุ:
ถุงซิปสำหรับนักเรียน ใบผักผลไม้หรือผัก
ยีสต์ (Yeast)
น้ำ

ขั้นตอน:
1. ติดป้ายชื่อถุงทั้งหมดที่มี ชื่อและเนื้อหาของนักเรียน
2. ให้นักเรียนกรอกถุงด้วยใบไม้ผลไม้หรือผัก เพื่อการเปรียบเทียบ ให้แยกถุง โดยให้ใส่ถุงละชนิด เช่นถุงนี้ใส่เฉพาะใบไม้ ถุงนี้ใส่เฉพาะผลไม้เท่านั้น ถุงนี้ใส่ผักเท่านั้น และ ถุงนี้ใส่ผสมของทั้งสามชนิด
3. ใส่ยีสต์และน้ำเล็กน้อยลงในถุงแต่ละชิ้น
4. บังคับให้อากาศออกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนปิดผนึกถุง
5. วางถุงไว้ในที่อุ่น ๆ
6. สังเกตถุงวันต่อวัน เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์

สรุป:
ถามนักเรียนว่าใบไม้ ผัก และ ผลไม้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในช่วงสัปดาห์
ถามนักเรียนว่าวัสดุใดที่สลายตัวได้มากที่สุด
ถามนักเรียนว่าถุงใด้ก๊าซชีวภาพมากที่สุด
เตือนนักเรียนว่าก๊าซชีวภาพสามารถนำมาใช้ในการทำความร้อนที่อยู่อาศัยและปรุงอาหารได้

ถาม-ตอบ เรื่อง boiler

วันนี้ เรามาเรียนรู้ถึงปัญหา ต่างๆที่เกิดขึ้นในการดูแลรักษา และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของงาน  Boiler กันนะครับ โดยเรามาเริ่มกันที่ คำถามข้อแรกในวันนี้ คือ

ถาม : วิธีป้องกันสนิมในท่อ steam

ตอบ :

  1. เพิ่มอุณหภูมิน้ำ Feed tank ให้ได้อย่างน้อย 80-85°C หรือติดตั้ง Deaerator 105°C เพื่อลดออกซิเจน ควบคุมค่า TDS และปริมาณเกลือแร่ในน้ำให้ลดน้อยลงโดยการนำ Condensate กลับมาใช้ให้มากที่สุด
  2. หมั่นตรวจสอบ Steam Trap ในท่อ Steam ไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังโดยใช้ Infrared Thermometer ตรวจสอบอุณหภูมิผิวท่อขาเข้า Steam Trap เช่น หากเดินท่อไอน้ำ 7 barg 170°C อุณหภูมิผิวท่ออาจอยู่ที่ 140°C ขึ้นไป หากต่ำกว่า 110°C นั่นหมายถึง ความสามารถในการระบายคอนเดนเสทลดลงเช่นกัน
  3. ห้ามมิให้น้ำขังในท่อหน้าเครื่องหลังเลิกใช้งานโดยเปิดและปิดวาล์ว drain ทุกครั้งหลังเลิกใช้ และอาจจำเป็นที่ต้องใช้ Steam trap ที่ระบาย Condensate ใกล้เคียงกับอุณหภูมิไอน้ำอิ่มตัวเช่น Thermodynamic แทน Thermostatic
  4. ตรวจสอบ Back pressure ในท่อ Condensate กลับว่าสูงเกินไปหรือไม่ และใช้อุปกรณ์นำ Condensate กลับหากจำเป็น เช่น Condensate Pump
หวังว่าจะเป็น ประโยชน์ กับทุกคนที่สนใจนะครับ
ขอบคุณครับ

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561

แนะนำมือใหม่หัดขับ ที่สนใจการบริหาร TQM


นานเลยครับที่ไม่ได้มาทักทายเพื่อนๆ เนื่องจาก โครงการที่ได้รับมอบหมาย กำลังเร่งรีบ แต่ก็อกไม่ได้ที่จะต้อง หาเรื่องดีๆ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

ดย :อ.อุดม

ระดับ : นายร้อย
ป็นสมาชิกเมื่อ : 03 พ.ย. 2006 03.19 น.
เข้าสู่ระบบครั้งล่าสุด : 15 ม.ค. 2007 01.26 น.
วันที่อัพเดท :15 ม.ค. 2007 13.15 น.
คะแนนโหวต :23 คะแนน ผู้เข้าชม :6847 ครั้ง
บทเกริ่นนำ :แนะนำมือใหม่หัดขับ ที่สนใจการบริหาร TQM 

3. Create dependence on inspection to achieve quality. Eliminate the need for inspection on a mass basis by building quality into the product in the first place.


จงสร้างคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่แรก ยุติการควบคุมคุณภาพโดยพึ่งการควบคุมคุณภาพด้วยการตรวจสอบผลลัพธ์สุดท้าย


ดร.เด็มมิ่ง มีคำกล่าวที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า


"เราไม่สามารถ สร้างคุณภาพลงไปในสินค้าด้วยการตรวจสอบ"

(QUALITY CAN NOT BE BUILT IN PRODUCT BY INSPECTION"



ดร.เด็มมิ่ง ให้เหตุผลยืนยันความคิดเขาเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ 7 ประการ ว่า

  1. การตรวจสอบเป็นขั้นตอนที่สานเกินไปแล้ว ทั้งยังไร้ประสิทธิภาพ และมีราคาแพง (ต้องลงทุนมาก) ทั้งยังไม่อาจประกันได้ว่า จะค้นพบความบกพร่องทั้งหมดในผลิตภัณฑ์นั้นๆได้
  2. การรีเวิร์ค (Rework) หรือทำซ่อมก็ดี การลดเกรดของสินค้า (Down Grading) เช่น ลดจาก Military Standard ซึ่งราคาต่อชิ้นแพงกว่า ไปเป็น Commercial Standard ซึ่งราคาต่อชิ้นถูกกว่าก็ดี จนกระทั่งการสั่งทำลายทิ้ง หรือ Scrap สำหรับงานที่พบว่ามีความบกพร่องจนซ่อมไม่ได้ก็ดี ล้วนไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาด้านคุณภาพที่ถูกต้อง
  3. การพัฒนาคุณภาพต้องกระทำที่ การควบคุมกระบวนการผลิต หรือ PROCESS CONTROL(ปัจจุบันอาจเป็นเรื่องการออกแบบกระบวนการที่ไม่ผลิตของเสีย ไม่เพียงแต่ควบคุมกระบวนการผลิต) ไม่ใช่การมาตรวจเช็คหาข้อเสียหลังจากที่ผลิตจนเสร็จแล้ว
  4. การตรวจสอบจะให้ผลสะท้อนถึง สภาวะของคุณภาพผลิตภัณฑ์ ณ เวลาขณะนั้นเท่านั้น ในเวลาที่เปลี่ยนไปคุณภาพอาจเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น การตรวจสอบ100% จึงไม่ใช่หลักประกัน 100%  ว่าผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบนั้นจะไม่มีปัญหา เมื่อนำไปใช้งานในโอกาสต่อไป
  5. ดังนั้น แทนที่จะมุ่งเพิ่มบุคลากรให้กับแผนกตรวจสอบคุณภาพ เราควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนากระบวนการผลิต และการควบคุมกรรมวิธีการผลิตให้ได้มากกว่า
  6.  ในปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐ ได้ซื้อสินค้าตามมาตรฐานการตรวจรับสินค้าขณะส่งมอบ ด้วยการชักตัวอย่าง หรือ Samplingตามมาตรฐานของ MIL-STD 105D นั้นเป็นการบอกว่ารัฐบาล (ซึ่งคือผู้ซื้อ) ได้วางแผนการยอมรับสินค้าที่มีความบกพร่อง ผสมมากับสินค้าในปริมาณที่ยอมรับได้ และพร้อมจ่ายเงินค่าสินค้าที่บกพร่องนั้นด้วย ขณะที่อเมริกายอมรับกันที่ ของชำรุด ที่ถูกกฎหมาย ในประเทศญี่ปุ่นผู้ผลิตชั้นนำได้ตั้งมาตรฐานคุณภาพงานให้มีของชำรุด หรือ ดีเฟ็กซ์ (Defects)เป็นส่วนต่อล้านส่วน หรือหน่วยวัดเป็น PPM กันแล้ว และในขณะที่แนวความคิดเรื่องสินค้าปลอดของชำรุด หรือ Zero Defectที่กำเนิดในอเมริกา และเป็นเรื่องราวของความเพ้อฝันในสายตาของนักอุตสาหกรรมอเมริกัน ตรงกันข้ามในประเทศญี่ปุ่น นักอุตสาหกรรมชั้นนำกลับมุ่งสู่ Zero Defect และจะพิสูจน์ว่า ฝันนั้นต้องการเป็นจริง ไม่ใช่ความฝันเฟื่องของนักทฤษฎีแต่เป็นความจริงของนักปฏิบัติ
  7. สเป็คอาจผิดด้วยตัวของมันเอง ฉะนั้น การวัดมาตรฐาน


วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สาเหตุที่ทำให้ ธุรกิจล้มเหลว

          สวัดดีวันหยุดครับเพื่อน วันนี้ เรามีบทความดีๆมาฝากกัน โดย เป็นบทความที่คัดมาจาก "บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย" มันเป็นบทความที่เก่ามากๆแต่ เราคิดว่ามันน่าจะมีประโยนช์ จึงได้นำมาให้เพื่อนๆ ที่รักในการอ่านได้อ่านกัน (01 March 2018)

          ในการประกอบธุรกิจมีทั้งประสบความสำเร็จ และ ล้มเหลว ส่วนสาเหตุของการล้มเหลวมีมากมาย ซึ่งจะได้ประมวลมากล่าวในมี่นี้ เพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการบางส่วนที่ประสบความล้มเหลวในการทำการค้า และธุรกิจก็ยังคงประสบปัญหาอยู่เสมอ การศึกษาถึงสาเหตุแห่งความไม่สำเร็จนับว่ามีประโยชน์และช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ดียิ่งขึ้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจต้องล้มเหลว หรือ ล้มละลายจนต้องปิดตัวเอง พอสรุปสาเหตุได้ดังนี้

ประการที่ 1 ความไม่เอาใจใส่ต่อธุรกิจ 

ความไม่เอาใจใส่ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ย่อมก่อให้เกิดผลเสียหายให้แก่ธุรกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในชีวิตธุรกิจประจำวันคือ
- ผู้ประกอบธุรกิจไม่เอาใจใส่ต่อกิจการค้าของตนเอง
- ผู้ประกอบธุรกิจมีปัญหาส่วนตัว อาจจะมาจากปัญหาครอบครัวส่วนใหญ่ จะเกิดความขัดแย้งของสามีและภรรยา
- ผู้ประกอบธุรกิจมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ บางคนอาจเกิดอุบัติเหตุ ทำให้สูญเสียความสมประกอบ เป็นเหตุให้ไม่สามารถดูแลกิจการให้ทั่วถึงเหมือนปกติ

ประการที่ 2 ฉ้อฉลหรือคดโกง

ในวงการธุรกิจไม่ว่ายุคใดสมัยใด จะมีผู้ประกอบธุรกิจที่มีนิสัยไม่ค่อยดีหรือคดโกง รวมอยู่ด้วยเสมอ แต่มีจำนวนน้อยมากในกลุ่มบุคคลเหล่านี้ที่ประกอบธุรกิจไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง ตัวอย่างของความไม่ซื่อตรง ได้แก่
- การลอกเลียนแบบสินค้าของผู้อื่น
- การทำบัญชีปลอมแปลง ผู้ประสบความล้มเหลวในกรณีนี้ส่วนใหญ่เกิดจากถูกปรับภาษีย้อนหลัง
- จงใจสั่งชื้อสินค้ามากๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีนี้แล้วเกิดขึ้นในวงธุรกิจเสมอ คือ พ่อค้าที่เริ่มรู้ตัวว่าธุรกิจของตนเองจะไปไม่รอดหรืออาจจะไปได้ แต่จงใจจะคดโกงโดยอาศัยเครดิตทางการค้า สั่งสินค้าเข้ามาครั้งละมากๆ แล้วพยายามระบายสินค้าออกไปโดยเร็วในราคาที่อาจจะถูกกว่าต้นทุน แต่ได้เงินสดมา เมื่อถึงกำหนดหรือก่อนถึงกำหนดชำระสินค้า พ่อค้าดังกล่าว จะจงใจขนข้าวขนของหนีไปอยู่ที่อื่น
- ใช้จ่ายซื้อทรัพย์สินที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจ มีพ่อค้าจำนวนไม่น้อยที่ได้เครดิตทางการค้าหรือกู้เงินมาทำการค้าพอได้เงินสดมา จะใช้เงินเหล่านี้ไปซื้อทรัพย์ที่ไม่จำเป็นต่อธุรกิจ เช่น รถยนต์ หรือทรัพย์สินฟุ่มเฟือยอื่นๆ

ประการที่ 3 ขาดประสบการณ์และความสามารถ

มีบุคคลอีกจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า การมีเงินทุนเพียงพอ โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ก็สามารถประกอบธุรกิจให้สำเร็จผลได้ ที่ผ่านมามีธุรกิจมากมายที่ล้มเหลว และต้องปิดตัวเองเพราะขาดประสบการณ์ ขาดความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นๆ ตลอดจนขาดความสามารถในการใช้ประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลในทางสูญเสีย ดังนี้
- ขายสินค้าได้น้อย
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง
- มีปัญหาเรื่องการบริหารลูกน้อง
- มีปัญหาเรื่องการบริหารสินค้าคงคลัง
- มีทรัพย์ถาวรมากเกินไป
- เลือกทำเลไม่ถูกต้อง
- แข็งขันสู้ผู้อื่นไม่ได้

ประการที่ 4 อุบัติเหตุ

ในที่นี้ คือ เหตุการณ์หรือภัยอันตรายที่เกิดขึ้นโดยคาดไม่ถึง ทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจ ตัวอย่างของเหตุการณ์เหล่านี้ ได้แก่ อุทกภัย พนักงานคดโกง

อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้ตัวว่าธุรกิจของท่านมีปัญหา มีวิธีตรวจสอบปัญหาที่แท้จริงง่ายๆ ดังนี้
- ขายมากไป หรือขายน้อยไปหรือไม่
- ซื้อสินค้าผิดไปหรือไม่
- จ้างคนแพงไปหรือไม่
- ใช้จ่ายส่วนตัวมากไปหรือไม่
- เก็บหนี้ไม่ได้ ใช่หรือไม่
- กำไรน้อยไป ใช่หรือไม่
- ควรจัดองค์กรใหม่หรือไม่

เมื่อตรวจพบว่ามีปัญหาที่ตรงไหน วิธีการแก้ไขง่ายๆ มีดังนี้
- หยุดซื้อชั่วคราว
- ดูว่าชื้อสินค้าผิดเพราะอะไร
- หาทางลดต้นทุน ลดคนงาน ลดชั่วโมงการทำงาน
- ลดการสังคม เหล้า บุหรี เที่ยวเตร่
- สร้างประสิทธิภาพในการจัดเก็บใหม่
- ขึ้นราคาขาย หรือ ขายราคาต่ำลง เก็บเงินให้เร็วขึ้น ดูว่าช่วยได้หรือไม่ หรือเพิ่มสินค้าชนิดอื่นให้ขายดีขึ้น
- หาผู้ช่วยในการแก้ไขปัญหา

วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

บริษัทจ้างคุณมาทำไม ?

สวัสดีครับเพื่อนๆ ห่างหายไปนานครับ เนื่องด้วยช่วงนี้ ติดภาระกิจ เพิ่งจะเปิดโครงการใหม่ เลย วุ่นวายนิดหน่อย และ วันนี้ เราได้มีเพื่อนในกลุ่มเรียนเขียนแบบ เค้าโพสต์ อ่านแล้วเห็นว่าดีเลย ขอเอามาให้เพื่อๆได้อ่านกันบ้าง (30 Jan 2018)

บริษัทจ้างคุณมาทำไม ?
จ้างคุณมาเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ใช่จ้างคุณมาสร้างปัญหา
หากคุณไม่เห็นปัญหาหรือแก้ไขปัญหาไม่ได้ คุณนั่นแหละคือปัญหา!
คุณแก้ปัญหายากได้มากเพียงใด ตำแหน่งที่คุณนั่งก็สูงเท่านั้น
คุณแก้ปัญหาได้มากเพียงใด เงินเดือนของคุณก็มากเท่านั้น
เลื่อนตำแหน่งให้ผู้แก้ไขปัญหา
ถอดตำแหน่งผู้สร้างปัญหา
เลิกจ้างผู้โทษกล่าวปรักปรำซ้ำเติมปัญหา

ปัญหา คือโอกาสของคุณ
1. ปัญหาของบริษัท คือโอกาสเปลี่ยนแปลงของคุณ
2. ปัญหาของลูกค้า คือโอกาสที่คุณจะรับใช้บริการ
3. ปัญหาของตัวเอง คือโอกาสที่คุณจะได้พัฒนา
4. ปัญหาของเพื่อร่วมงาน คือโอกาสที่คุณจะเสนอแนะ สนับสนุน และร่วมมือ
5. ปัญหาของหัวหน้า คือโอกาสที่คุณจะได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจ
6. ปัญหาของฝ่ายตรงข้าม คือโอกาสที่คุณจะฝึกฝนความกล้าแกร่ง

อย่าออกจากทีม ไม่เช่นนั้นคุณต้องเริ่มนับศูนย์ใหม่
1. อย่าฝังใจว่าเมื่อทำไม่ได้ก็ละทิ้ง ไม่ว่าทีมใดก็มีปัญหา และมีข้อดี
2. ติดตามนายดีคือความสำคัญ นายที่ยินดีสอนคุณ ยินดีให้คุณทำแทน ต้องรู้จักถนอมติดตามให้จงดี
3. ปัญหาของทีมคือโอกาสที่คุณจะสำแดงศักยภาพ ปรักปรำและซ้ำเติมปัญหาคือการตบหน้าตัวเอง หากบอกว่าตนเองไร้ความสามารถ ก็เท่ากับละทิ้งโอกาส
4. มีจิตสำนึกคุณ ขอบคุณองค์กรที่มอบเวทีให้กับคุณ ขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ให้ความร่วมมือ
5. การสร้างผลประโยชน์และกำไรให้บริษัทคือคุณค่าและการมีตัวตนคงอยู่ของคุณ แยกให้ออกว่าธุรกิจไม่ใช่กิจกรรมสังคมสงเคราะห์
6. พบปัญหาต้องไตร่ตรองพิจารณา สะท้อนปัญหาคือมาตรฐานธรรมดา ไตร่ตรองและแก้ไขปัญหาจึงเป็นมาตรฐานระดับสูง

สุดท้ายใครคือผู้ได้รับผลประโยชน์?
1. คนที่เกาะติดและเติบโตพร้อมกับทีมอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
2. คนที่เห็นด้วยกับวิสัยทัศน์ของทีม
3. คนที่พยายามค้นพบจุดยืนของตัวเอง
4. คนที่พยายามคิดหาจุดหมายใหม่ๆให้กับทีมอยู่เสมอ
5. คนที่มีภูมิต้านแรงเสียดทานได้ดี
6. คนที่ร่วมแรงร่วมใจ คนที่ร่วมหัวจมท้ายและคนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับทีม
7. คนที่ไม่เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน แต่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
8. คนที่ใจกว้างมีน้ำใจ คนที่มีคุณธรรมและความสามารถ คนที่รู้จักเสียสละและอุทิศเป็น

หาวิธีการเพื่อความสำเร็จ ไม่หาข้ออ้างเมื่อเกิดความล้มเหลว
ขั้นที่1
หน้าที่ก็คือจุดหมายของคุณ
ประสบการณ์ก็คือทุนของคุณ
อุปนิสัยก็คือชะตาชีวิตของคุณ

ขั้นที่2
เรื่องยุ่งยากทำให้เป็นเรื่องง่าย คุณคือผู้เชี่ยวชาญ
เรื่องง่ายๆทำซ้ำอยู่เสมอ คุณคือผู้ชำนาญ
เรื่องเดิมๆซ้ำๆทำด้วยความตั้งใจ คุณคือผู้ชนะ

ขั้นที่3
ความสมบูรณ์มีไว้สำหรับผู้มีความเชื่อมั่น
โอกาสมีไว้สำหรับผู้เริ่มต้น
ปาฏิหาริย์มีไว้สำหรับผู้ยืนหยัด
หากคุณไม่อยากทำ คุณจะจะหาข้ออ้างจนได้
หากคุณอยากทำ คุณจะหาวิธีการจนเจอ

หลักการคิดของผู้นำ “รักเขา จงเข้มงวดและเรียกร้องเขา”
1. หัวหน้าที่เข้มงวดและเรียกร้องคุณ คือหัวหน้าที่จะเสริมสร้างให้คุณเจริญก้าวหน้าในสายงาน คนที่ทำให้เราเป็นทุกข์คือคนที่ทำให้เราเข้มแข็ง
2. บริษัทที่ยิ่งใหญ่ไม่มีนโยบายให้พนักงานทำงานอย่างสุขสบาย มักจะมีวิธีการที่ทำงานที่หนักหน่วงจึงเสริมสร้างพนักงานให้กล้าแกร่งได้
3. บริษัทที่ให้ความสุขสบายกับพนักงานมักล้มละลาย เพราะพนักงานที่มีความสามารถมากมักตายใจเมื่อสุขสบาย
4. บริษัทที่บีบให้พนักงานแสดงศักยภาพ มักเจริญไม่หยุดหย่อน เพราะในสถานการณ์เยี่ยงนี้ หากไม่ขึ้นหลังเสือ ก็จะถูกเสือจับกินแทน
5. บริษัทที่ไม่ให้พนักงานสุขสบาย แท้จริงคือบริษัทที่สร้างความสุขสบายให้พนักงาน เพราะสถานการณ์ที่บีบบังคับมักเสริมสร้างศักยภาพคนให้กล้าแกร่งและเติบโต และด้วยเหตุนี้เขาจึงมีอนาคตที่สว่างไสว
6. หากคุณรักลูกทีมของคุณจริงๆ ก็ควรตรวจสอบเขา เรียกร้องเขา ให้เขามีจุดหมายที่สูง มาตรฐานที่สูง บีบเขาให้เจริญและเติบโต
7. หากคุณเกรงใจลูกทีม หวังแค่จุดหมายเล็กๆ เรียงร้องแบบธรรมดา มาตรฐานธรรมดา เท่ากับคุณกำลังเลี้ยงลูกแหง่ หากทำอย่างนี้เท่ากับคุณกำลังทำร้ายลูกทีม เพราะคุณกำลังบ่มเพาะความเอาแต่ใจ ริษยา และเกียจคร้านให้เขาอยู่